พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544
ในโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันองค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพิจารณาคดีและการรับฟังหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของศาล
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเข้าสู่ยุคสารสนเทศ จากเดิมที่เราสื่อสารโดยการพึ่งพาภาษาและตัวหนังสือเป็นหลักมาเป็นการสื่อสารด้วยภาษาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผล ปัจจุบันจึงมีการกำหนดให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในการพิจารณาคดี นอกจากพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล และพยานนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้แล้วในส่วนการจัดประเภทพยานหลักฐานนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แม้จะมีลักษณะเป็นพยานเอกสารและพยานวัตถุ แต่ก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพยานเอกสารและพยานวัตถุทั่วไปในการนำสืบจึงต้องมีวิธีการพิเศษโดยเฉพาะการยอมรับให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานอีกประเภทหนึ่งจึงมีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อจัดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานอีกประเภทหนึ่งแล้ว ข้อที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือ จะต้องมีวิธีการนำสืบและหลักในการรับฟังอย่างไร และจะนำบทตัดพยานได้แก่ หลักการรับฟังพยานหลักฐานที่ดีที่สุด และหลักการรับฟังพยานบอกเล่า มาใช้ด้วยหรือไม่กรณีของวิธีการนำสืบนั้นควรกำหนดให้ผู้กล่าวอ้างต้องดำเนินการเหมือนกันกับพยานหลักฐานประเภทอื่น คือต้องยื่นบัญชีระบุพยานที่เกี่ยวข้อง (Chain of Custody ) มีลายเซ็นผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น คนรับเครื่อง คนอนุญาต วันและเวลา มีการส่งสำเนาพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงให้แก่คู่ความอีกฝ่าย
การรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลักกฎหมายสำคัญ 3 ประการใช้ในการพิจารณา พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถยืนยันความแท้จริง (Authentication) ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ความแท้จริงของเอกสารประกอบด้วย
- เนื้อหาของเอกสารไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง
- ข้อมูลในเอกสารเป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของผู้สร้างเอกสารนั้น ทั้งนี้ไม่ว่าผู้สร้างเอกสารจะเป็นมนุษย์ หรือคอมพิวเตอร์
- ข้อมูลพิเศษในเอกสาร อันได้แก่ วันเดือนปีที่ถูกสร้าง นั้นถูกต้อง
ในปัจจุบันศาลไทยได้ให้การยอมรับและรับฟังพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ ดัง เช่น ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2542 ซึ่งวางหลักว่า พยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์สามารถรับฟังได้ ซึ่งอาจรับฟังได้ในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในกรณีที่มีการปรินท์ แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มานำเสนอ ซึ่งในแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานชนิดนี้ของศาลนั้นจะต้องปรากฏว่าระบบการบันทึกการสร้าง การเก็บรักษา และการเรียกข้อมูล หรือการใช้งานของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นปกติเช่นที่เคยทำมา ไม่มีสิ่งที่ผิดเพี้ยนหรือบิดเบือนก็น่าเชื่อถือว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่ามิใช่สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดีหรือการค้นหาความจริงแล้ว การใช้พยานเอกสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานต่อศาล ตาม พ.ร.บ.ศาลจะไม่ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลนั้นเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ข้อมูลดังกล่าวจะมีความน่าเชื่อถือรับฟังในเนื้อหาสาระได้หรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของศาลซึ่งเป็นผู้รับฟังข้อมูลในการชั่งน้ำหนักพยานเองโดยใช้หลักเกณฑ์ความน่าเชื่อถือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 10 วรรคสอง (พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ข้อเสนอแนะ จำเป็นต้อง มีการอบรมและให้ความรู้ขั้นสูงทางด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security)
การปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยมเดิมๆ ความเคยชิน ในระบบพยานหลักฐานของไทย ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งนำไปใช้ในวิธีพิจารณาความอาญาด้วยนั้น จะเป็นระบบของพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการพิเศษ ซึ่งมิได้ออกแบบไว้สำหรับพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์ จึงควรปรับเปลี่ยนเพราะเนื่องจากเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับพนักงานสอบสวนตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจนถึงขั้นศาลทาง
“Orion Forensics ใด้ร่วมมือกับศาลศัพท์สินทางปัญญา ศาลแพ่ง ศาลอาญา ในการให้ความสำคัญเรื่องฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จากศาลและผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวในเรื่อง Computer Forensics) ให้พร้อมรับกับความสำคัญของการทำ Computer Forensics และ หลักฐานทางดิจิตอลที่ได้รับการยอมรับจากศาล ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะถูกนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อปราบเหล่าอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และรูปแบบคดีก็ทวีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ความเข้าใจและความรู้จริงด้าน Computer Forensics และ Investigationsจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมสามารถนำกฎหมายมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด”