หลักการปฏิบัติงานเกี่ยวกับพยานหลักฐานดิจิทัล
การนำพยานหลักฐานดิจิทัลไปใช้ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง มีแนวคิดและหลักการเช่นเดียวกับพยานหลักฐานอื่น แต่เนื่องจากพยานหลักฐานดิจิทัลมีความเปราะบางและซับซ้อน เทคโนโลยีของอุปกรณ์ดิจิทัลถูกพัฒนาอย่าง รวดเร็ว และข้อมูลสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ง่ายโดยที่ผู้ปฏิบัติงานตรวจพิสูจน์อาจรู้หรือไม่รู้ตัว ดังนั้น การ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลจึงควรให้ความสาคัญตามหลักการดังต่อไปนี้ ;
(1) ควรดาเนินการโดยผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน หรือปฏิบัติตามแนวทางในเอกสาร ฉบับนี้
(2) ควรรักษาสภาพพยานหลักฐานไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลง หรือถูกเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยผู้ปฏิบัติงาน ต้องสามารถอธิบายและบันทึกสิ่งที่ดาเนินการ เหตุผลที่ทาให้พยานหลักฐานต้องเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบจากการดาเนินการนั้น ๆ ได้อย่างละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร
(3) ควรรักษาความต่อเนื่องของการครอบครองพยานหลักฐาน หรือ Chain of Custody โดยมีข้อมูลที่ จาเป็นต้องบันทึก ได้แก่ ข้อมูลติดต่อและลายมือชื่อของผู้ส่งมอบพยานหลักฐาน, ข้อมูลติดต่อและ ลายมือชื่อของผู้รับมอบพยานหลักฐาน, วันที่และเวลาในการรับ–ส่งมอบพยานหลักฐาน, เหตุผลใน การรับ–ส่งมอบพยานหลักฐาน, วิธีการส่งมอบพยานหลักฐาน เช่น ส่งมอบโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือส่งมอบโดยพนักงานส่งของ และสถานที่จัดเก็บพยานหลักฐาน เป็นต้น โดยรูปแบบหนึ่งของการ แสดง Chain of Custody เช่น การใช้แบบฟอร์ม
(4) มีการบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์พยานหลักฐานโดยละเอียด เพียงพอให้ผู้ตรวจพิสูจน์รายอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันสามารถเข้าใจได้ และหากทาซ้า ด้วยวิธีการเดิมและเครื่องมือที่มีลักษณะเดียวกันจะต้องได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
(5) บุคคลที่เข้าถึงพยานหลักฐานต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
(6) ผู้ปฏิบัติงานพึงตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน รวมถึงการดาเนินการตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับพยานหลักฐาน เป็นต้น
(7) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน จำเป็นต้อง ดังนี้:
(7.1) มีสภาพพร้อมใช้งานและเหมาะสมกับกระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานแต่ละประเภท
(7.2) มีมาตรการในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงและปนเปื้อนของพยานหลักฐาน (การปนเปื้อน หมายถึง การปะปนของข้อมูลอื่นกับพยานหลักฐาน เช่น การปะปนข้อมูลจากเคสเก่ากับเคส ปัจจุบัน หรือการปะปนข้อมูลในเคสกับข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ปฏิบัติงาน ทา ให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด เป็นต้น)
(7.3) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยา (Validation) ของเครื่องมือก่อนใช้งานอย่างสม่าเสมอ
(7.4) มีคู่มือการใช้งานหรือเอกสารคาอธิบายเพื่อใช้ประกอบการอ้างอิง
แหล่งที่มา :ข้อเสนอแนะมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ETDA
ทักษะที่จำเป็นของผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล