พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฎีกาที่ 2148/2562
ข้อความที่จำเลยทำให้ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตโดยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในคดีนี้รวม 3 กระทง และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร รวม 3 กระทง แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียงในรายละเอียดและวันที่กระทำความผิด กล่าวคือ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 24 มกราคม 2556 ส่วนคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ย่อมต้องพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดเป็นสำคัญว่ามีเจตนาเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย
ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยได้พิมพ์หรือทำให้ปรากฏตามสำเนาข้อความแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ซึ่งข้อความคดีนี้และข้อความตามคำฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร ต่อเนื่องกันตลอดมาตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2556 เวลา 8.17 นาฬิกา ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 9.07 นาฬิกา บนเว็บไซต์เฟซบุ๊กในหัวข้อเรื่องทำนองเดียวกัน คือ “ทำไมไอ้ P จึงต้องด่าคนขายพระ ลป.บุญศรี” และข้อความทั้งหมดต่างกล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมเสียหาย หลอกลวงหาผลประโยชน์จากวัด รับซื้อของโจร
นอกจากนี้ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับคดีนี้และเวลาเกิดเหตุอยู่ในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร จึงเป็นกรรมเดียวกัน ดังนั้น เมื่อคดีของศาลจังหวัดสมุทรสาครที่พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ศาลจังหวัดสมุทรสาครและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาแล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว หาใช่ 3 กรรม ดังที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3, 14 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 นับโทษจำคุกต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาครจำเลยให้การปฏิเสธ แต่เมื่อสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว จำเลยกลับให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อระหว่างพิจารณา นายสันติ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษา ว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 3 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 3 กระทง เป็นรวมจำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโจทก์จำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
- โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร หรือไม่ โดยโจทก์ร่วมฎีกาทำนองว่า ข้อความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร มีความแตกต่างกันโดยจำเลยเสกสรรปั้นแต่งเหตุการณ์นั้นเป็นคนละอย่างกัน กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมเป็นคนหลอกลวง หาผลประโยชน์จากวัด เป็นมารศาสนา ขโมยของสงฆ์ รับซื้อของโจร ซึ่งขึ้นอยู่กับเจตนาของจำเลยในแต่ละคราว ทำให้บุคคลใดอ่านข้อความดังกล่าวที่จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หลายครั้งแล้วย่อมเข้าใจว่า โจทก์ร่วมเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมเสียหาย หลอกลวงหาผลประโยชน์จากวัด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ
จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) นั้น เห็นว่า ข้อความที่จำเลยทำให้ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตโดยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในคดีนี้รวม 3 กระทง และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร รวม 3 กระทง แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียงรายละเอียด และวันที่กระทำความผิดจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย กล่าวคือ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 24 มกราคม 2556 ส่วนคดีหมายเลขแดงที่ 1034/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งการจะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ย่อมต้องพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดเป็นสำคัญว่ามีเจตนาเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย
ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำเนาข้อความแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ก จำเลยพิมพ์หรือทำให้ปรากฏซึ่งข้อความคดีนี้ และข้อความตามฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร ต่อเนื่องกันตลอดมาตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2556 เวลา 8.17 นาฬิกา จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 9.07 นาฬิกา บนเว็บไซต์เฟซบุ๊กในหัวข้อเรื่องทำนองเดียวกัน คือ หัวข้อ “ทำไม ไอ้ P (ซึ่งหมายถึง โจทก์ร่วม) ทำไมต้องด่าคนขายพระ ลป.บุญศรี” และข้อความทั้งหมดต่างกล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมเสียหาย หลอกลวงหาผลประโยชน์จากวัด รับซื้อของโจร ทำให้ผู้อื่นอ่านข้อความแล้วเข้าใจว่าโจทก์ร่วมมีพฤติกรรมดังกล่าว
นอกจากนี้ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับคดีนี้ และเวลาเกิดเหตุอยู่ในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร จึงเป็นกรรมเดียวกัน ดังนั้น เมื่อคดีของศาลจังหวัดสมุทรสาครที่พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ศาลจังหวัดสมุทรสาครและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาแล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว หาใช่เป็นความผิดรวม 3 กรรม ดังที่โจทก์ฟ้อง แม้จะไม่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ก็ถือได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น
แหล่งที่มา : http://www.supremecourt.or.th/
บริการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ประกอบสำนวนคดี
Read More
ทำไมการทำ Computer Forensics จึงมีความสำคัญต่อองค์กรของคุณ
ในโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วปัจจุบันองค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน ปัจจุบันลูกค้าทั่วไปต่างคาดหวังว่า สินค้าหรือองค์กรต่างๆที่เค้าต้องการหาสินค้าจะต้องมีเว็บไซท์ที่น่าสนใจและข้อมูลครบตามความต้องการซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีในกรณีที่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าก่อนสั่งสินค้า ลูกค้าต้องมีสิทธ์ในการสอบถามข้อมูลของสินค้า โดยผ่านโปรแกรมแชทที่เจ้าของเว็บไซต์เตรียมไว้ให้ และฟังก์ชั่นการทำงานของเวไซต์อื่นที่น่าสนใจเช่น ดูตัวอย่างสินค้า
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยส่วนใหญ่เน้นเชื่อมต่อระหว่างอีเมล์ของตัวเองและสามารถติดต่อกับเพื่อนๆได้ในช่วงเวลาทำงาน
Computer Forensics สำคัญต่อองค์กรของคุณอย่างไร?
การทำ Computer Forensics คือขั้นตอนการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์การตรวจสอบข้อมูลต่างๆทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ใบนี้ และเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน ที่จะจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปในองค์กรจะมีการรักษาความปลอดภัยด้วยการใช้ไฟร์วอล และอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัส อย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้มีนโยบายควบคุมการใช้อุปกรณ์ USB ซึ่งทำให้สามารถใช้อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายและระบบโทรศัพท์ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลขององค์กร และเมื่อมีการยกเลิกสัญญาพนักงานจึงต้องมีการปิดบัญชีผู้ใช้ให้ทันท่วงทีองค์กรทั่วไปจะมีกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลลูกค้า อย่างไรก็ตามการรั่วไหลของข้อมูลยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่องค์กรเหล่านี้ต้องเผชิญอยู่ในโลกของเทคโนโลยีทุกวันนี้
เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์แน่นอนว่าในที่สุด ทุกองค์กรจะต้องมีการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์
ตัวอย่างของเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ที่พบกันบ่อยๆซึ่งอาชญากรรมที่พบบ่อยได้แก่
• การทุจริตทางคอมพิวเตอร์
• อาชญากรรม
• การจารกรรมข้อมูลในภาคอุตสาหกรรมรม
• การโจรกรรมข้อมูลลับขององค์กร
• การละเมิดลิขสิทธ์ส่วนบุคคล / การสูญเสียข้อมูลของลูกค้า
• สื่อลามกอนาจารสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
• การกระทำต่างๆที่เป็นการละเมิดนโยบายการรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ขององค์กร และอื่น ๆ
เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นผู้กระทำผิดจะทิ้งช่องโหว่ เช่น ทางจริยธรรม ทางการเงินและถูกทางกฎหมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการตรวจสอบหลักฐานจากภายใน อย่างรวดเร็วเพื่อขยายผลไปสูการตรวจสอบคดีทางอาญาซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอกโดยข้อมูลการสอบสวนอาจรั่วไหลสู่ภายนอกโดยไม่รู้ตัว
จากการสำรวจคดีสำคัญทางอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก ในปี 2011
• ในขณะนี้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จัดเป็นหนึ่งในสี่ของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
• 40 % ของผู้ตอบแบบสอบถามหวาดกลัวในเรื่องของภาพลักษณ์ชื่อเสียงขององค์กรมากที่สุด
• 60% กล่าวว่า องค์กรไม่มีนโยบายติดตามความเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์
• 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (เพิ่มขึ้น 30 % จากปี 2009) เกือบ 1 ใน 10 ที่เปิดเผยถึงความเสียหายจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
• 56 % ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการทุจริตที่ร้ายแรงที่สุดคือ “ภายในองค์กรนั่นเอง”
• 2 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้รับการฝึกอบรมใดๆเลยเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์
• ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงการมีแผนรองรับหรือรับมือในกรณีถ้ามีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นภายในองค์กร
ทำไม การทำ Computer Forensics จึงมีความสำคัญต่อองค์กรคุณ
เมื่อองค์กรต้องเผชิญกับเหตุการณ์ในระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ทางไอทีจะถูกคาดหวังในประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นและพยายามหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและประเมินระดับของความรุนแรง ส่วนใหญ่พนักงานไอทีในบริษัททั่วไปไม่ได้รับการฝึกอบรมในด้านการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์(Computer Forensic) ส่งผลให้พวกเขาไม่ตระหนักถึงวิธีการเก็บข้อมูลหลักฐานทางดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่อาจจะต้องนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อศาลในกรณีที่มีการร้องขอ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเช่น วันและเวลาที่ปรากฏอาจสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งจะทำให้การตรวจสอบยากมากขึ้น ในสถานการณ์ที่เลยร้ายที่สุดข้อมูลที่ตรวจพบอาจไม่เป็นที่ยอมรับเมื่อนำไปเสนอในชั้นศาล
การพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer forensics investigation)จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะซึ่งเกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาข้อมูลและตรวจสอบ แยกแยะหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่พบ แต่การเผยแพร่ หลักฐานที่ถูกต้อง เมื่อต้องเผชิญหลักฐานทางคอมพิวเตอร์องค์กรมีแนวโน้มที่จะเน้น ไปที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน และจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
หลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ จะเป็นผลลัพธ์ของการสืบสวนการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์สามารถลดขั้นตอนการดำเนินการทางกฎหมายให้รวด เร็วกระชับขึ้นการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถประหยัดเวลาในการตรวจสอบซึ่งยังสามารถช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
เมื่อองค์กรกำหนดแผนรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น องค์กรควรจะสร้างแผนการซึ่งตอบสนองงานด้านพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Incident Response Plan ) ซึ่งอาจหมายถึง การให้พนักงานได้รับการอบรมการเก็บ ตรวจสอบ พิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามหลักสากลในองค์กร ซึ่งพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถช่วยเหลือองค์กรเบื้องต้นในกรณีเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์เริ่มเป็นที่สนใจในหลายๆประเทศทั่วโลก ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งโครงการ Insurance Scheme ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วย เหลือลูกค้าถ้ามีการเรียกร้องการตรวจสอบพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ โดยองค์กรต้องยอมรับการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์และเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้ที่กำลังคิดที่จะก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
Training For IT Staff – Computer Forensics Awareness and Incident Response Training (TH)
ประวัติผู้เขียน
แอนดรูส์ สมิทธ์ -ผู้อำนวยการพิสูจน์หลักฐานคอมพิวเตอร์ประจำ Orion Forensic
แอนดรูว์มีประสบการณ์มากกว่า 17 ปี ในสาขานิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 9 ปี โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาใช้เวลาทำงานในแผนกอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตำรวจซึ่งเขาได้รับการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย มีบทบาทของในการรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการนำเสนอหลักฐานในศาลของสหราชอาณาจักรในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
ขณะนี้แอนดรูว์ทำงานที่กรุงเทพฯมาเป็นเวลากว่า 7 ปีและเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Computer Forensics Services ของ บริษัท Orion Investigations บทบาทของเขาคือดูแลการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมความตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และอธิบายหลักฐานในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลไทย และเป็นวิทยากรที่อบรมให้กับหน่วยงานธุรกิจและองค์กรต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับตลาดในประเทศไทย อีกทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ในห้องปฏิบัติการนิติเวชทั่วโลก
Email :andrew@orioninv.co.th
Read More