ตัวอย่างการทุจริตในองค์กรช่วงโควิด-19 และวิธีป้องกันเบื้องต้น
การทุจริตหรือฉ้อโกง คือการกระทำที่มีเจตนาเอาทรัพย์สินหรือเงินจากผู้อื่นด้วยอุบาย หลอกลวง หรือวิธีการที่ไม่เป็นธรรมอื่น ๆ
การทุจริตในองค์กร คือการทุจริตต่อบริษัท ซึ่งอาจกระทำโดยบุคลากรภายในองค์กรหรือบุคคลอื่นภายนอกองค์กร การทุจริตที่เกิดขึ้นภายในองค์กร หมายถึง เหตุการณ์ที่พนักงาน ผู้จัดการ หรือเจ้าของบริษัทกระทำการทุจริตต่อบริษัทของตนเอง เช่น ขโมยหรือใช้ทรัพย์สินของบริษัทในทางที่ผิด การทุจริตจากภายนอกองค์กร คือ การทุจริตที่กระทำโดยบุคคลภายนอก โดยรวมถึง การให้สินบน การโกง การเจาะหรือแฮกเข้าระบบของบริษัท การขโมยและการประกัน การกู้ยืม และการฉ้อโกงการชำระเงิน ทั้งนี้ คาดว่าองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก สูญเสียรายได้รวมร้อยละ 5 จากการทุจริต
ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และอาชญากรรม อาจทำให้เราเชื่อว่าทุจริตเกิดขึ้นจากพนักงานที่มีเจตนาไม่ดีและไม่มีศีลธรรม อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการวิเคราะห์คดีทุจริตในองค์กรกว่า 1,000 คดี ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการทุจริตพบว่า มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการทุจริต ปัจจัยเหล่านี้อยู่ในทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริต
ทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริตประกอบด้วย โอกาส แรงกดดัน และการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ยกตัวอย่างการทุจริตง่าย ๆ เช่น ลิ้นชักเก็บเงินในบริษัทของแจ็คที่ไม่เคยมีการป้องกัน ไม่มีการเฝ้าดูแล รวมถึงไม่มีการสรุปรวมยอด แจ็คจึงมีโอกาส เมื่อเขาไม่ค่อยมีเงินสด และวันนี้เป็นวันเกิดแฟนของเขา และเขายังไม่ได้ซื้อของขวัญให้แฟน เขาจึงมีแรงกดดัน เงินเพียงไม่กี่ร้อยดอลลาร์คงไม่กระทบบริษัทมากนัก และคงไม่มีใครจับได้ เขาได้ค่าจ้างต่ำเกินไป ทั้งยังทำงานหนักมาก แถมเจ้านายของเขาก็ยังเป็นคนงี่เง่า แจ็คจึงมีเหตุผลให้กับตัวเอง ปัจจัยทั้งสามตามทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริต ทำให้แจ็คมีแรงกระตุ้นจะกลายเป็นผู้ทุจริตองค์กร แม้โดยทั่วไปเขาจะเป็นพนักงานที่ทำงานด้วยศีลธรรมและเจตนาดีก็ตาม
ทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริตจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ได้อย่างไร
โอกาส – ในขณะที่ทำงานจากที่บ้าน หลายบริษัทต้องปรับใช้วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ โดยมีการควบคุมน้อยลง
แรงกดดัน – พวกเราทุกคนทราบดีว่าเราต้องเผชิญกับแรงกดดันหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันจากความไม่แน่นอน เงินเดือนที่น้อยลง ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว และระดับความวิกตกกังวลที่เกิดขึ้น
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง – ในขณะทำงานจากที่บ้าน พนักงานอาจรู้สึกว่ามีปฏิสัมพันธ์กับนายจ้างและเพื่อนร่วมงานน้อยลง หรือรู้สึกไม่พอใจนายจ้างกับมาตรการที่ใช้ในช่วงโรคระบาด อย่างเช่น การลดเงินเดือน หรือการปลดออกจากงาน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้พนักงานหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเพื่อกระทำการทุจริตได้ง่ายขึ้น
สมาคมต่อต้านการทุจริตสากล (ACFE) เป็นองค์กรต่อต้านการทุจริตที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมและการให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต (ทั้งยังเป็นผู้จัดทำสถิติส่วนใหญ่ที่นำเสนอในบทความนี้) ทั้งนี้ ACFE พบว่ามีการทุจริตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากผลกระทบในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยักยอกเงินโดยพนักงาน การทุจริตทางออนไลน์ การฉ้อโกงการชำระเงิน และการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลอันเกิดจากการกำกับดูแลที่น้อยลง สมาชิกของ ACFE ยังได้รายงานอีกว่า มีความยากลำบากในการตรวจสอบการทุจริตเนื่องจากการเดินทางที่จำกัดและไม่สามารถเข้าถึงหลักฐานได้อย่างเพียงพอ
แม้ว่าโควิด-19 จะก่อให้เกิดโอกาสในการทุจริตและการทุจริตรูปแบบใหม่ ๆ แต่พื้นฐานของการทุจริตและการที่บริษัทต่าง ๆ สามารถใช้ในการป้องกันการทุจริตก็ยังคงเหมือนเดิม หัวข้อที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้คือวิธีการที่บริษัทสามารถใช้ได้เพื่อลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อของการทุจริต
- สายด่วน – ร้อยละ 43 ของการทุจริตถูกตรวจพบผ่านสายด่วน องค์กรที่มีสายด่วนสามารถตรวจพบการทุจริตได้เร็วกว่าและสามารถจำกัดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการมีวิธีการรายงานที่ชัดเจนเพื่อให้พนักงาน ผู้จัดหา และบุคคลอื่น ๆ สามารถรายงานข้อสงสัยต่าง ๆ ในการทุจริต ผู้ทำการทุจริตส่วนมากมักจะใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ใช้เงินเกินกำลัง และเพื่อนร่วมงานอาจสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้และรายงานความน่าสงสัยได้ ทั้งนี้ ปัจจัยในการก่อการทุจริตอื่น ๆ ยังรวมถึงปัญหาทางการเงิน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างผิดปกติกับผู้ขายหรือลูกค้า และการติดยาเสพติด
- การฝึกอบรบและให้ความรู้เรื่องการทุจริต – พนักงานมักจะรายงานข้อมูลมากขึ้นหลังจากได้รับการฝึกอบรม นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มน้อยลงที่พนักงานจะทำการทุจริตหากได้ตระหนักถึงหลักจรรยาบรรณและนโยบายการต่อต้านการทุจริตและการควบคุมภายใน หัวข้อการฝึกอบรมจะรวมถึงการทุจริต การทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ และกระบวนการรายงานการทุจริต
- ผู้นำองค์กรเป็นแบบอย่าง – ปัจจัยหลายประการในการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเพื่อกระทำการทุจริตเกิดจากการจัดการที่ไม่ดี ผู้บริหารและเจ้าของต้องเป็นตัวอย่างที่ดี โดยประพฤติตนตามหลักจรรยาบรรณและปฏิบัติต่อพนักงานและผู้ขายอย่างเป็นธรรม
- แผนการรับมือต่อเหตุการณ์ทุจริต – บริษัทควรมีแผนการรับมือกับการทุจริตหรือข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการทุจริต ซึ่งอาจรวมถึงบริษัทสืบสวนทุจริตภายนอกบริษัทที่สามารถให้การสนับสนุนในการสอบสวนและการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎหมายได้ เมื่อตรวจพบการทุจริต เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวบรวมหลักฐานให้ถูกต้องตามหลักนิติวิยาศาสตร์ เพื่อให้หลักฐานสามารถนำไปใช้ในการดำเนินคดีตามกฎหมายได้ หลักฐานควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนจะพิจารณาว่าสามารถใช้ดำเนินคดีกับผู้กระทำการทุจริตได้หรือไม่ บริษัทต่าง ๆ มักจะรีบเผชิญหน้ากับผู้กระทำการทุจริตก่อนที่จะรวบรวมหลักฐานทั้งหมดอย่างเพียงพอ เพื่อแสดงจุดยืนของบริษัท เพราะฉะนั้นต้องระวังข้อนี้ให้ดี
- การควบคุมภายใน – บริษัทส่วนใหญ่จะไม่มีลิ้นชักเก็บเงินที่มีการดูแลซึ่งช่วยให้แจ็คทำการทุกจริตได้อย่างง่ายดาย แต่หลาย ๆ บริษัทจะมีช่องโหว่ทำนองเดียวกันซึ่งพนักงานสามารถรับรู้ได้เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ การควบคุมภายในที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการแบ่งแยกหน้าที่ อุปกรณ์ป้องกันและการเข้าตรวจสอบโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะช่วยลดปัจจัยที่สร้างโอกาสให้เกิดการทุจริตตามทฤษฎีสามเหลี่ยมได้ ทั้งนี้ มีผู้ตรวจสอบภายนอกจำนวนมากที่ให้บริการตรวจสอบการควบคุมภายใน
- การประเมินความเสี่ยงของการทุจริต – การประเมินความเสี่ยงเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการระบุและบรรเทาจุดอ่อนของบริษัทที่เสี่ยงต่อการทุจริตทั้งภายในและภายนอก โดยการประเมินสามารถทำได้ภายในองค์กรหรือรับการสนับสนุนจากที่ปรึกษาภายนอกองค์กร
- การสอบบัญชีโดยผู้ตรวจสอบภายนอก – การตรวจสอบบัญชีหรืองบการเงินของบริษัทโดยผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกเป็นวิธีการสำคัญวิธีการหนึ่งในการตรวจหาการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรใหญ่ ทั้งนี้ ควรให้ผู้ตรวจสอบบัญชีระบุความเสี่ยงของการทุจริตด้วยในระหว่างการสอบบัญชีแต่ละครั้ง
- การคัดกรองก่อนจ้างงาน – การคัดกรองนี้รวมถึงการตรวจสอบหน้าที่การงานที่ผ่านมาของพนักงาน ประวัติอาชญากรรมและประวัติส่วนตัว ตรวจสอบการศึกษา และ ตรวจสอบบุคคลอ้างอิง องค์กรควรทำให้แน่ใจว่ากระบวนการจ้างงานทั้งหมดของตนเป็นไปตามกฎหมายปกป้องข้อมูล และไม่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้สมัครงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้บริการจากบริษัทคัดกรองที่เป็นมืออาชีพ
ดังคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” การปรับใช้วิธีการต่อต้านการทุจริตเหล่านี้จะลดความเสี่ยงที่องค์กรของคุณอาจตกเป็นเหยื่อของการทุจริต นอกจากนี้ยังช่วยให้แน่ใจว่า หากคุณเป็นเหยื่อของการทุจริต การแก้ไขปัญหาจะดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม และก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
ประวัติผู้เขียนบทความ
ปีเตอร์ ฮอร์มชอว์ มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ในการสืบสวนด้านธุรกิจและเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท โอไร้อัน อินเว็สทิเกชั่น จำกัด – ซึ่งเป็นบริษัทสืบสวนด้านธุรกิจและสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียนในกรุงเทพฯ โดยมีพนักงานสอบสวน ทนายความ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติคอมพิวเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ มากกว่า 100 คน ปีเตอร์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาปรัชญาและการเมือง และปริญญาโทบริหารธุรกิจ และเป็นผู้ตรวจสอบการทุจริตที่ได้รับการรับรอง
Read MoreDigital Forensics คืออะไร
Computer Forensics / Digital Forensics คือ การเก็บหลักฐาน, การค้นหา, วิเคราะห์ และการนำเสนอหลักฐานทางดิจิทัลที่อยู่ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์,อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โทรศัพท์มือถือ รวมถึงหลักฐานดิจิทัลที่ถูกสร้างจากระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ระบุผู้กระทำผิดจนถึงเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ใช้กระบวนการซึ่งได้จัดสร้างไว้แล้ว และเป็นที่ยอมรับ ในการที่จะระบุ, บ่งชี้, เก็บรักษา และดึงข้อมูลแบบดิจิทัลกลับออกมา ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการสืบสวนคดีในยุคปัจจุบัน
Computer Forensics เป็นศาสตร์ทางด้านการสืบสวนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยผู้ทำการสืบสวน นั้น จะนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับคดีหรือเรื่องที่กำลังสืบสวนมาค้นหาข้อมูล เพื่อสืบค้นหาพยานหลักฐานสำหรับใช้ในการประกอบการสืบสวนหรือใช้ค้นหาผู้กระทำความผิดออกมา ทั้งนี้ตามวิธีการของการทำ Computer Forensics ซึ่งหลักสำคัญคือหลักฐานทางดิจิทัล นั้น จะต้องใช้วิธีการที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้นแก่พยานหลักฐานดิจิทัล ต้นฉบับเดิม ดังนั้นผู้ที่ทำงานด้าน Computer Forensicsจะต้องรู้กระบวนการที่ถูกต้องและใช้เครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อความสมบูรณ์และถูกต้องของพยานหลักฐาน
สิ่งที่ได้จาก Computer Forensics :
- บ่งชี้ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำผิด
- บ่งชี้ผู้สมคบคิดกับผู้กระทำผิด
- บ่งชี้ websites ที่ผู้กระทำผิดเข้าไปใช้
- อีเมล์ที่มีการส่งและรับ
- ไฟล์ที่ได้ถูกลบทิ้งและไฟล์ที่ซ่อนอยู่
- ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลด้านการเงิน, ที่อยู่ ฯลฯ
- ความสามารถและความสนใจของของบุคคลนั้นๆ
- พยานหลักฐาน การประกอบอาชญากรรมอื่นๆ
ในการค้นหาหลักฐานทุกครั้งนั้นผู้เชี่ยวชาญด้าน Computer Forensics จะทำการตรวจสอบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทางดิจิทัลสำหรับหลักฐานที่ใช้แนวทางของการทำ Computer Forensics ในการค้นหาหลักฐาน มีความจำเป็นที่ขั้นตอนนี้ต้องมีความชัดเจนในการในการอธิบายหลักฐานในแนวทางของ Computer Forensics
แนวทางการทำ Computer Forensics เป็นวิธีการที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่มาของหลักฐาน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเพื่อให้ใด้หลักฐานที่ต้องการ วิธีการได้มาของหลักฐานจะถูกบันทึกเป็นเอกสารและสามารถพิสูจน์ได้
การทำ Computer Forensics สามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1.การเก็บรักษา – เมื่อจะต้องจัดการเก็บข้อมูลดิจิทัล ผู้ตรวจสอบจะต้องทำการทุกอย่างเพื่อรักษาข้อมูลไว้ นี่สามารถทำได้โดยการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบจะต้องไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยปกติแล้วจะรวมถึงการสร้างสำเนาข้อมูล หรือ Cloning ข้อมูลต้นฉบับไว้ ข้อมูลดิจิทัลสามารถเก็บไว้บนฮาร์ดไดร์ฟ, CD/DVD, floppy disks, USB drives, มือถือ, เครื่องเล่นดนตรี และเทปสำรอง.
2.การวินิจฉัย – ความจุของฮาร์ดไดร์ฟจะเพิ่มขึ้นปีต่อปี ผลก็คือการตรวจสอบอาจประกอบด้วยข้อมูลดิจิทัลเป็นร้อยๆกิ๊กกะไบท์ เพื่อที่จะระบุหลักฐานที่เป็นไปได้ผู้สืบสวนจะใช้เทคนิคเช่นการค้นหา keywords หรือ กรองข้อมูลเจาะจงของไฟล์เช่นเอกสาร รูปภาพ หรือไฟล์ประวัติอินเตอร์เน็ต
3.การแยกข้อมูล – เมื่อหลักฐานได้รับการวินิจฉัย มันจะต้องถูกแยกข้อมูลออกมาจากสำเนาข้อมูล ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูล อาจปริ้นท์ออกมาเป็นเอกสารได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเช่นประวัติอินเตอร์เน็ตอาจจะมีหลายร้อยหน้าและจะต้องทำออกมาในรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์
4.การอธิบาย – การระบุและแยกหลักฐานคือส่วนหนึ่งของหน้าที่ของผู้ตรวจสอบ มันมีความสำคัญมากที่จะต้องอธิบายเกี่ยวกับหลักฐานให้ถูกต้อง ผู้ตรวจสอบไม่ควรจะพึ่งพาเครื่องมืออัตโนมัติ ผู้ตรวจสอบควรจะมีความสามารถในการตรวจสอบและเข้าใจผลลัพธ์ที่ได้มาจาก forensic software
5.บันทึกของของหลักฐานคอมพิวเตอร์ – เมื่อการตรวจสอบเริ่มขึ้น ผู้ตรวจสอบจะต้องรักษาบันทึกที่เกี่ยวกับการทำงานกับข้อมูลดิจิทัลให้มีความอัพเดทอยู่สม่ำเสมอและขั้นตอนของการทำการตรวจสอบ บันทึกควรจะมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้บุคคลที่สามสามารถทำตามแล้วได้ผลลัพธ์ที่ออกมาเหมือนกัน การสร้างหลักฐานสำคัญจะไม่มีความหมายเลยถ้าผู้ตรวจสอบไม่สามารถสร้างรายงานที่ชัดเจนได้เข้าใจได้ สำคัญมากที่จะต้องไม่ใช้ศัพท์ทางเทคนิคมากเกินไปและเมื่อมีการใช้ศัพท์เมื่อจำเป็น ศัพท์เหล่านั้นจะต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน ผู้ตรวจสอบอาจต้องทำการแสดงหลักฐานที่พบในชั้นศาลในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
สมาคมเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของสหราชอาณาจักร (ACPO) ได้จัดทำคู่มือแนะนำการปฏิบัติงานเก็บหลักฐานสำหรับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (Computer-Based Electronic Evidence) โดยคู่มือนี้ได้กำหนดหลักการสำคัญในการได้มาซึ่งหลักฐานทาง Computer Forensics 4 ประการคือ
หลักการที่1:หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือตัวแทนองค์กร ไม่ควรดำเนินการใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจนำไปใช้ในศาลได้ในภายหลัง
หลักการที่2:ในกรณีที่บุคคลใดมีความจำเป็นที่จะมีการเข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลซึ่งเป็นหลักฐาน บุคคลนั้นจะต้องอธิบายถึงความเกี่ยวข้องกับข้อมูลและผลกระทบจากการกระทำนั้น
หลักการที่3:หลักฐานการตรวจสอบหรือบันทึกอื่น ๆ ของกระบวนการตรวจสอบทั้งหมดที่ใช้กับหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์รควรได้รับการจัดทำและรักษาไว้ (Chain of Custody)โดยผู้ตรวจสอบหากมีบุคคลที่สาม หรือองค์กรอิสระ ที่เข้ามาตรวจสอบ ก็จะได้ผลลัพเช่นเดียวกัน
หลักการที่4:บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบ(เจ้าหน้าดูแลคดีนั้นโดยตรง) จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำเพื่อให้มั่นใจว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการ Computer Forensics
หลักการของ Computer Forensics 4 ข้อ ที่นำเสนอ สามารถนำไปใช้ในคดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คดีอาญา, คดีแพ่ง หรือการสืบสวนภายในองค์กร การนำหลักการนี้มาใช้จะช่วยให้ไม่เกิดคำถามในเรื่องความสมบูรณ์ของหลักฐานดิจิทัล
เกี่ยวกับผู้เขียน:
Mr. Andrew Smith (Andy) – Director of Computer Forensics Services at Orion Forensics Thailand
แอนดรูว์มีประสบการณ์มากกว่า 17 ปี ในสาขานิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 9 ปี โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาใช้เวลาทำงานในแผนกอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตำรวจซึ่งเขาได้รับการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย มีบทบาทของในการรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการนำเสนอหลักฐานในศาลของสหราชอาณาจักรในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
ขณะนี้แอนดรูว์ทำงานที่กรุงเทพฯมาเป็นเวลากว่า 7 ปีและเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Computer Forensics Services ของ บริษัท Orion Investigations บทบาทของเขาคือดูแลการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมความตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และอธิบายหลักฐานในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลไทย และเป็นวิทยากรที่อบรมให้กับหน่วยงานธุรกิจและองค์กรต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับตลาดในประเทศไทย อีกทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ในห้องปฏิบัติการนิติเวชทั่วโลก
Email :andrew@orioninv.co.th