แม้ว่าจะผ่านมาเป็นเวลา 20 ปี แต่ฉันก็ยังจำได้อย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างไรในเมื่อครั้งตอนเป็นตำรวจใหม่ๆที่ต้องขึ้นให้การเป็นพยานในศาลครั้งแรก มันเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ตื่นเต้นที่สุดเท่าที่ฉันเคยผ่านมา การได้รับประสบการณ์ดังกล่าวและเรียนรู้ความผิดพลาดของตัวเอง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้พร้อมสำหรับบทบาทการเป็นนักสืบนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล ซึ่งในไม่ช้าฉันก็เรียนรู้ที่จะบันทึกรายละเอียดทุกอย่างและไม่มองข้ามแม้แต่รายละเอียดเพียงเล็กน้อย
ซึ่งขณะนี้ฉันอยู่ที่กรุงเทพฯมา 7 ปีแล้ว ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล4.0 นั่นหมายความว่าปัญหาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ได้ถูกยกให้อยู่ในระดับแนวหน้า ในแต่ละปีเราพบว่ามีความต้องการในการฝึกอบรมด้านนิติวิทยาศาสตร์และการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีการขาดความเข้าใจโดยทั่วไปเกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลและเรายังพบว่าหลายๆ บริษัท ยังทำผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก
หลักฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความเปราะบาง และหากถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีทางกฎหมายนั้นจะต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่ามีการรักษาความสมบูรณ์และความถูกต้องของหลักฐาน ซึ่งหากมีการจัดการที่ผิดพลาดของอาจทำให้มีความสงสัยในหลักฐานและกลายเป็นคำถามในชั้นศาล
การสืบสวนส่วนใหญ่ของเรานั้นเกี่ยวข้องกับการขโมยข้อมูลของบริษัท โดยการทุจริตของพนักงาน และฝ่ายบริหารจะให้เจ้าหน้าที่ไอทีทำการตรวจและรวบรวมสิ่งที่คิดว่าอาจเป็นหลักฐาน อย่างไรก็ตามประเด็นที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้:
- โดยปกติเจ้าหน้าที่ไอทีไม่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีและขั้นตอนในการดำเนินการตรวจสอบ
- พวกเขามักจะไม่ตระหนักหรือทราบถึง “ห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐาน: Chain of custody” ที่จะทำให้หลักฐานสมบูรณ์จากขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการจัดทำรายงาน
- ไม่ทราบถึงแหล่งที่มาของหลักฐานทั้งหมด
- พวกเขาขาดเครื่องมือเฉพาะทางที่จำเป็นในการตรวจสอบ
- พวกเขาไม่มีประสบการณ์ในการอธิบายหลักฐานที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
- พวกเขาไม่มีประสบการณ์ในการเตรียมหลักฐานและจัดทำรายงานอย่างมืออาชีพเพื่อเสนอต่อศาล
- พวกเขาไม่มีประสบการณ์ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอหลักฐานดิจิทัลต่อศาล
บริษัทต่างๆ มักจะคิดว่าขอเพียงแค่ที่ผู้ดำเนินการตรวจสอบมีคุณสมบัติด้านไอทีก็จะเพียงพอ แต่นิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลนั้นเป็นสาขาสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังที่กล่าวในข้างต้นแสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติจำเป็นที่ผู้ตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลและประสบการณ์ที่ควรมีในการดำเนินการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสต์ดิจิทัล
อีกประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาคือประสบการณ์ของทีมกฎหมายในองค์กร เจ้าหน้าที่กฎหมายเหล่านี้มีประสบการณ์ในการจัดการกับอาชญากรรมไซเบอร์หรือไม่ และมีความเข้าใจทางเทคนิคเกี่ยวกับหลักฐานทางดิจิทัลบ้างหรือไม่? เนื่องจากความซับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากคดีอาชญากรรมไซเบอร์ทำให้ทีมกฎหมายจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผลที่ดีที่สุดในการดำเนินคดีทางกฎหมาย
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจำนวนคดีความที่ใช้หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เมื่อจำนวนผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เราคาดว่าจะได้เห็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องถูกจัดการให้ดีขึ้นในศาล และหากคุณมีส่วนร่วมในกระบวนการทางกฎหมายในกรณีที่อีกฝ่ายเสนอหลักฐานดิจิทัลคุณควรพิจารณาที่จะจ้างผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลหรือผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล ในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่อีกฝ่ายนำเสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสการประสบความสำเร็จในการดำเนินคดี ดังนั้นหากต้องดำเนินดคีต้องแน่ใจว่าคุณได้ใช้ผู้ตรวจสอบนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลและนักกฎหมายที่มีความเข้าใจหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างเหมาะสมและมีประสบการณ์ในการจัดการกับหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
ต่อไปนี้คือมุมมองของนักกฎหมายที่คร่ำหวอดทำงานด้านคดีอาญามานานกว่า 27 ปีในประเทศอังฤกษ คือ Ghaff Khan
ในฐานะทนายความในดดีอาญา แอนดรูส์ สมิทธ์ –ผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล- เคยแนะนำฉันว่า วิธีเดียวที่จะชนะคดีไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ฟ้องร้องหรือผู้ถูกดำเนินคดี ต้องใช้พลังงานทั้งหมดของคุณในการเตรียมการสำหรับการพิจารณาคดีและที่สำคัญที่สุดคือ “รู้และเข้าใจเรื่องราว” ย้อนกลับไปแล้วมันก็มีเหตุผลตรงไปตรงมาที่จะเข้าใจในเรื่องของหลักฐานในคดีอาญาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในวันนี้มันเป็นเรื่องที่แตกต่างกันมากอย่างแน่นอน
เทคโนโลยีต่างๆ ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดสื่อที่มีความซับซ้อนมากขึ้นสำหรับผู้กระทำความผิด เพื่อสร้างความเสียหายแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ,ธนาคาร,หน่วยงาน,หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป
แรงจูงใจของอาชญากรรมสามารถที่จะทำลายชื่อเสียงของเหยื่อ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นความลับของเหยื่อหรือการฉ้อโกงเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ๆ
ในฐานะทนายที่ฟ้องร้องหรือแก้ต่างในคดีความ การทำความเข้าใจสาระสำคัญของคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากทนายความไม่ใช่นักนิติวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการฝึกอบรม แต่มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลที่มีประสบการณ์
ดังที่แอนดรูว์ สมิทธ์ กล่าวในข้างต้นว่านักกฎหมายและผู้ดำเนินคดีมักจะพึ่งพาบุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมด้านไอทีเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับหลักฐาน และนี่คือสิ่งที่ผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้
ในฐานะนักกฎหมายเรามีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อลูกความที่ถูกต้องในการต่อสู้คดีนับแต่เริ่มรับงานจากลูกความ แน่นอนว่าทุกครั้งที่มีมีการฟ้องร้องทางกฎหมายหรือมีคดีความขึ้นมาก็เกิดความคาดหวังที่จะชนะคดี …นักกฎหมายไม่มีโอกาสที่จะชนะคดีความถ้าหากว่าไม่เข้าใจและไม่สามารถอธิบายถึงหลักฐานทางอิเล็กทรอนิสก์ที่ถูกต้องต่อผู้พิพากษาได้ และโน้มน้าวผุ้พิพากษาให้เห็นถึงความผิดของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น ผู้ถูกกล่าวหาก็มีสิทธิในการพิสูจน์ความจริง ในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและนั่นหมายความว่าเราจะต้องสามารถอธิบายหลักฐานทางเทคนิคซึ่งชัดเจนว่าไม่สนับสนุนข้อกล่าวหาที่ต้องเผชิญ
นักกฎหมายด้านอาชญากรรมไซเบอร์ของเราได้ทำงานกับคดีที่เกิดขึ้นจิง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “หลักฐานดิจิทัล ” ข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ นอกเหนือจากนักกฎหมายทีมีประสบการณ์แล้ว ในส่วนผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล (Digital Forensics Team ) ใด้ให้ความช่วยเหลือในคดีที่ต้องการหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน ตลอดจนการนำเสนอหลักฐานในศาล หากมีการร้องขอหรืออธิบายถึงหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ให้กับทีมกฎหมายเข้าใจมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นกุญแจสำคัญ ในการดำเนินคดีที่ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน
เกี่ยวกับผู้เขียน:
Mr. Andrew Smith (Andy) – Director of Computer Forensics Services at Orion Forensics Thailand
แอนดรูว์มีประสบการณ์มากกว่า 17 ปี ในสาขานิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 9 ปี โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาใช้เวลาทำงานในแผนกอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตำรวจซึ่งเขาได้รับการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย มีบทบาทของในการรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการนำเสนอหลักฐานในศาลของสหราชอาณาจักรในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
ขณะนี้แอนดรูว์ทำงานที่กรุงเทพฯมาเป็นเวลากว่า 7 ปีและเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Computer Forensics Services ของ บริษัท Orion Investigations บทบาทของเขาคือดูแลการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมความตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และอธิบายหลักฐานในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลไทย และเป็นวิทยากรที่อบรมให้กับหน่วยงานธุรกิจและองค์กรต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับตลาดในประเทศไทย อีกทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ในห้องปฏิบัติการนิติเวชทั่วโลก
Email :andrew@orioninv.co.th
Ghaff Khan (Ghaff) – Director of Legal Services at Orion Law office Thailand
Ghaff มีประสบการณ์ในฐานะนักกฎหมายของสหราชอาณาจักรมา 27 ปี เขาจัดตั้งและบริหาร บริษัท กฎหมายที่ประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักรและดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกในสาขากฎหมายด้านต่างๆ โดยขึ้นว่าความในศาลหลายแห่งในสหราชอาณาจักรและมีสิทธิในการรับฟังกฎหมายอาญาระดับสูง ก่อนที่จะย้ายมาประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2558 ปัจจุบันบริหารจัดการเกี่ยวด้านกฎหมายในสำนักงาน รายงานข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ รับผิดชอบในการพัฒนาและฝึกอบรมทีมกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
Email: ghaff@orioninv.co.th