การรับมือและการจัดการจาก Ransomware Attack
การรับมือและการจัดการจาก Ransomware Attack
บริษัทโอไร้อันมักจะได้รับการติดต่อสอบถามจากบริษัทที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีจาก Ransomware ว่าทางเรานั้นสามารถกู้คืนข้อมูลที่เข้ารหัสได้หรือไม่ ในเกือบทุกเคสทางเรานั้นไม่สามารถกู้คืนได้ เนื่องจากเราจะไม่สามารถเข้าถึง Key เพื่อนำมาถอดรหัสข้อมูลได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องรักษาและสำรองข้อมูลไว้เป็นประจำและอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ ๆ
จากจำนวนการโจมตีของ Ransomware ยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี ตามรายงานการสืบสวนการละเมิดข้อมูลของ Verizon ในปี 2022 พบว่า การโจมตีด้วย Ransomware เพิ่มขึ้น 13% และ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดข้อมูลทั้งหมดถึง 25% อีกด้วย
หนึ่งในแนวทางที่ผู้โจมตีใช้อยู่ในขณะนี้ มีลักษณะคือหลังจากที่ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงเครือข่ายและขโมยข้อมูลที่เป็นความลับได้แล้ว พวกเขาจะเข้ารหัสข้อมูลบนเครือข่ายและเรียกร้องให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่เพื่อถอดรหัสข้อมูล หากเหยื่อมีข้อมูลที่สำรองไว้และปฏิเสธ ผู้โจมตีจะข่มขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลบนโลกออนไลน์
เมื่อบริษัทตกเป็นเหยื่อของการโจมตี วิธีการรับมือโดยทั่วไป คือ การลบและล้างข้อมูลในเครื่องที่ติดไวรัสและพยายามกู้คืนข้อมูลเพื่อให้กลับมาทำงานได้อีกครั้งโดยเร็วที่สุด ด้วยเหตุนี้ ผู้โจมตีจึงมักจะใช้ Ransomware เพื่อทำลายหลักฐานของการโจมตีทั้งหมดหลังจากที่พวกเขาขโมยข้อมูลจากเครือข่ายได้สำเร็จ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์หลักฐานอย่างละเอียด แม้ว่าจะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลที่เข้ารหัสได้ก็ตาม
วัตถุประสงค์ของการสอบสวนคือเพื่อรักษาหลักฐานที่เป็นไปได้เพื่อ:
- เพื่อระบุว่าระบบติด Ransomware ได้อย่างไร
- เพื่อระบุว่าข้อมูลที่สำคัญใดๆ ถูกส่งออกจากระบบหรือไม่
- หาคำตอบกับหน่วยงานกำกับดูแลและแสดงผลการปฏิบัติว่าคุณได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก
- ทำการรักษาข้อมูล ในกรณีที่คีย์ถอดรหัสถูกปล่อยออกมาในภายหลัง
หากคุณตกเป็นเหยื่อของการโจมตี Ransomware คุณควรรับมืออย่างไร?
- ห้ามปิดอุปกรณ์ที่ติดไวรัส
- แยกอุปกรณ์ที่ติดไวรัสออกจากระบบเครือข่าย
- จัดเก็บบันทึก Logs ต่างๆ เช่น Firewall, VPN, Anti-virus หรือ Logs อื่น ๆ ที่สามารถจัดเก็บได้
- จัดทำเอกสารข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีของ Ransomware ดังนี้
- ภาพถ่าย ข้อความที่ต้องการเรียกค่าไถ่ข้อมูลหรือ Splash Screen
- ชื่อ Ransomware ที่โจมตี (หากทราบ)
- นามสกุลของไฟล์ที่ถูกเข้ารหัส
- วันที่และเวลาที่ถูกโจมตี
- รูปแบบการตั้งชื่อไฟล์สำหรับเรียกค่าไถ่ หรือไฟล์ Readme ที่ผู้โจมตีทิ้งไว้
- ที่อยู่อีเมล URL หรือวิธีการอื่นที่ผู้โจมตีจัดเตรียมไว้เพื่อการติดต่อ
- วิธีการชำระเงิน หรือบัญชี Bitcoin จากผู้โจมตี
- จำนวนเงินที่ถูกเรียกค่าไถ่ (หากทราบ)
ข้อมูลใดบ้างที่ผู้ตรวจสอบต้องการทราบจากคุณ?
- จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ที่ได้รับผลกระทบ
- ประเภทของอุปกรณ์ ยี่ห้อ รุ่น ขนาดของฮาร์ดไดร์ฟ
- ระบบปฏิบัติการ (OS) ของอุปกรณ์ที่ถูกโจมตี
- อุปกรณ์มีการเข้ารหัสไว้หรือไม่ ถ้ามี เป็นการเข้ารหัสแบบใด และ IT สามารถให้ Recovery Key ได้หรือไม่
- ตำแหน่งของอุปกรณ์
- ไทม์ไลน์ของเหตุการณ์
- รายละเอียดของ Ransomware
สิ่งสำคัญคือการรับมืออย่างรวดเร็วและควรติดต่อให้ผู้ตรวจสอบไปยังสถานที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อให้พวกเขาสามารถเริ่มกระบวนการเก็บรักษาหลักฐานที่เป็นไปได้จากอุปกรณ์ที่ติดไวรัส โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์และ Logs รวมถึงข้อมูลที่อยู่บนหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile Memory) ซึ่งสามารถให้ข้อมูลมากมาย เช่น การเชื่อมต่อเครือข่าย พอร์ตที่ถูกเปิด และที่อยู่ IP Address ปลายทาง
เพราะฉะนั้นการเลือกบริษัทที่จะเข้ามาช่วยในตรวจสอบจากการถูกโจมตีด้วย Ransomware ถือเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อ คุณควรค้นหาและจัดเตรียมบริษัทผู้ให้บริการ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถรับมือและป้องกันการสูญเสียหลักฐานที่อาจเกิดขึ้นได้
The Analysis Process Infographic
The Article provided by – Andrew Smith – Director of Computer Forensics Services
Email : forensics@orionforensics.com
Line ID : orionforensics
Mobile Phone : +66(0)89-960-5080