การสืบสวนสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency และเครื่องมือ
“หากคุณตกเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงที่เกี่ยวกับ Cryptocurrency และต้องการความช่วยเหลือในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีในทางกฏหมาย Orion Investigations ช่วยคุณได้ “
Crypto Blockchain คือการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ซึ่งมีรายละเอียดบันทึกของการดำเนินของธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลอยู่
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และติดตามการทำธุรกรรมในระบบ Blockchain คุณ แอนดรูว์ สมิธ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ Computer Forensics จาก บริษัท Orion Investigations ได้พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์และสืบค้นที่ชื่อว่า Blockchain Detective
ถ้าหากคุณ ! ตกเป็นเหยื่อจากการฉ้อโกงของ Cryptocurrency สามารถติดต่อมาที่ Orion Forensics ทางเราสามารถให้คำแนะนำกับคุณได้
Read full article ==> Cryptocurrency Investigations
Email : forensics@orionforensics.com
Line ID : orionforensics
Mobile Phone : +66(0)89-960-5080
การรับมือและการจัดการจาก Ransomware Attack
การรับมือและการจัดการจาก Ransomware Attack
บริษัทโอไร้อันมักจะได้รับการติดต่อสอบถามจากบริษัทที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีจาก Ransomware ว่าทางเรานั้นสามารถกู้คืนข้อมูลที่เข้ารหัสได้หรือไม่ ในเกือบทุกเคสทางเรานั้นไม่สามารถกู้คืนได้ เนื่องจากเราจะไม่สามารถเข้าถึง Key เพื่อนำมาถอดรหัสข้อมูลได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องรักษาและสำรองข้อมูลไว้เป็นประจำและอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ ๆ
จากจำนวนการโจมตีของ Ransomware ยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี ตามรายงานการสืบสวนการละเมิดข้อมูลของ Verizon ในปี 2022 พบว่า การโจมตีด้วย Ransomware เพิ่มขึ้น 13% และ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดข้อมูลทั้งหมดถึง 25% อีกด้วย
หนึ่งในแนวทางที่ผู้โจมตีใช้อยู่ในขณะนี้ มีลักษณะคือหลังจากที่ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงเครือข่ายและขโมยข้อมูลที่เป็นความลับได้แล้ว พวกเขาจะเข้ารหัสข้อมูลบนเครือข่ายและเรียกร้องให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่เพื่อถอดรหัสข้อมูล หากเหยื่อมีข้อมูลที่สำรองไว้และปฏิเสธ ผู้โจมตีจะข่มขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลบนโลกออนไลน์
เมื่อบริษัทตกเป็นเหยื่อของการโจมตี วิธีการรับมือโดยทั่วไป คือ การลบและล้างข้อมูลในเครื่องที่ติดไวรัสและพยายามกู้คืนข้อมูลเพื่อให้กลับมาทำงานได้อีกครั้งโดยเร็วที่สุด ด้วยเหตุนี้ ผู้โจมตีจึงมักจะใช้ Ransomware เพื่อทำลายหลักฐานของการโจมตีทั้งหมดหลังจากที่พวกเขาขโมยข้อมูลจากเครือข่ายได้สำเร็จ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์หลักฐานอย่างละเอียด แม้ว่าจะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลที่เข้ารหัสได้ก็ตาม
วัตถุประสงค์ของการสอบสวนคือเพื่อรักษาหลักฐานที่เป็นไปได้เพื่อ:
- เพื่อระบุว่าระบบติด Ransomware ได้อย่างไร
- เพื่อระบุว่าข้อมูลที่สำคัญใดๆ ถูกส่งออกจากระบบหรือไม่
- หาคำตอบกับหน่วยงานกำกับดูแลและแสดงผลการปฏิบัติว่าคุณได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก
- ทำการรักษาข้อมูล ในกรณีที่คีย์ถอดรหัสถูกปล่อยออกมาในภายหลัง
หากคุณตกเป็นเหยื่อของการโจมตี Ransomware คุณควรรับมืออย่างไร?
- ห้ามปิดอุปกรณ์ที่ติดไวรัส
- แยกอุปกรณ์ที่ติดไวรัสออกจากระบบเครือข่าย
- จัดเก็บบันทึก Logs ต่างๆ เช่น Firewall, VPN, Anti-virus หรือ Logs อื่น ๆ ที่สามารถจัดเก็บได้
- จัดทำเอกสารข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีของ Ransomware ดังนี้
- ภาพถ่าย ข้อความที่ต้องการเรียกค่าไถ่ข้อมูลหรือ Splash Screen
- ชื่อ Ransomware ที่โจมตี (หากทราบ)
- นามสกุลของไฟล์ที่ถูกเข้ารหัส
- วันที่และเวลาที่ถูกโจมตี
- รูปแบบการตั้งชื่อไฟล์สำหรับเรียกค่าไถ่ หรือไฟล์ Readme ที่ผู้โจมตีทิ้งไว้
- ที่อยู่อีเมล URL หรือวิธีการอื่นที่ผู้โจมตีจัดเตรียมไว้เพื่อการติดต่อ
- วิธีการชำระเงิน หรือบัญชี Bitcoin จากผู้โจมตี
- จำนวนเงินที่ถูกเรียกค่าไถ่ (หากทราบ)
ข้อมูลใดบ้างที่ผู้ตรวจสอบต้องการทราบจากคุณ?
- จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ที่ได้รับผลกระทบ
- ประเภทของอุปกรณ์ ยี่ห้อ รุ่น ขนาดของฮาร์ดไดร์ฟ
- ระบบปฏิบัติการ (OS) ของอุปกรณ์ที่ถูกโจมตี
- อุปกรณ์มีการเข้ารหัสไว้หรือไม่ ถ้ามี เป็นการเข้ารหัสแบบใด และ IT สามารถให้ Recovery Key ได้หรือไม่
- ตำแหน่งของอุปกรณ์
- ไทม์ไลน์ของเหตุการณ์
- รายละเอียดของ Ransomware
สิ่งสำคัญคือการรับมืออย่างรวดเร็วและควรติดต่อให้ผู้ตรวจสอบไปยังสถานที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อให้พวกเขาสามารถเริ่มกระบวนการเก็บรักษาหลักฐานที่เป็นไปได้จากอุปกรณ์ที่ติดไวรัส โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์และ Logs รวมถึงข้อมูลที่อยู่บนหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile Memory) ซึ่งสามารถให้ข้อมูลมากมาย เช่น การเชื่อมต่อเครือข่าย พอร์ตที่ถูกเปิด และที่อยู่ IP Address ปลายทาง
เพราะฉะนั้นการเลือกบริษัทที่จะเข้ามาช่วยในตรวจสอบจากการถูกโจมตีด้วย Ransomware ถือเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อ คุณควรค้นหาและจัดเตรียมบริษัทผู้ให้บริการ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถรับมือและป้องกันการสูญเสียหลักฐานที่อาจเกิดขึ้นได้
The Analysis Process Infographic
The Article provided by – Andrew Smith – Director of Computer Forensics Services
Email : forensics@orionforensics.com
Line ID : orionforensics
Mobile Phone : +66(0)89-960-5080
Download Article => RESPOND TO A RANSOMWARE ATTACK
Read Moreอบรม Hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Course 4 Days โดย บริษัท Tech Direct
Orion Forensics ได้รับเชิญให้บรรยาย และฝีกอบรมหลักสูตร Hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Training Course – 4 DAYS โดยบริษัท Tech Direct ให้แก่ผู้ที่สนใจจาก สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และหน่วยงานสืบสวนทางด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 20-23 ธันวาคม 2565
ทางเราได้จัดอบรมในหลักสูตรการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (digital forensic) รวมถึงทางด้านเทคนิคต่างๆ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเชิงลึกและฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์จริง ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอน โดยในการอบรมครั้งนี้ Orion Forensics ได้ปรับหลักสูตรเพื่อตรงการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่เข้าฝึกอบรมอีกด้วย หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้ตรวจพิสูจน์ ที่เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์และดิจิทัลที่มีประสบการณ์หลายปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เนื้อหาและข้อมูลสำหรับหลักสูตรนี้ Digital Forensics Foundation Training Course 4 Days
องค์กรใดสนใจจัดอบรม In-House ติดต่อสอบถาม Forensics Team โดยตรง forensics@orionforensics.com
Read More
Orion Forensics Investigations เข้าร่วมงาน Cyber Defense Initiative Conference (CDIC) 2022
เมื่อวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2565 Orion Forensics Investigations ได้เข้าร่วมงาน Cyber Defense Initiative Conference CDIC 2022 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
งาน CDIC เป็นการประชุมและนำเสนองานในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เข้าร่วมการประชุมอย่างมากมาย
การจัดงานครั้งนี้ เป็นการนำเสนอภายใต้หัวข้อ “Optimizing Security of Things and Digital Supply Chain Risk” ซึ่งเป็นความสำคัญในการสร้างเสริมศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น;
- ความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายไซเบอร์
- การจัดการความเสี่ยงของผู้ให้บริการในยุคข้อมูลดิจิทัล
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Blockchain, AI-powered, Quantum ที่นำมาใช้ทั้งด้านบวกในการป้องกันและด้านลบในการโจมตี Cybersecurity
- การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ ISO/IEC 27002 เวอร์ชั่นใหม่ที่รวมกับการ Controls “Information Security, Cybersecurity & Privacy Protection” สำหรับองค์กรตรวจรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 (ISMS) ต้องรู้ในการนำไปใช้ดำเนินการ
- การประกาศใช้บังคับของกฎหมาย พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ
ตลอดสองวันของการประชุม Orion Forensics Investigations ได้ร่วมออกบูธ แจกของรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมงานและได้พูดคุยเกี่ยวกับ Digital Forensics Services และ Digital Forensics Training Courses รวมถึงได้มีโอกาศสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รายอื่นที่เข้าร่วมงาน
ทั้งนี้ทาง Orion ได้นำอุปกรณ์ตัวอย่างในการทำงานด้าน Digital Forensics ทั้งในส่วนของ Software และ Hardware ไปแสดงให้ผู้ร่วมงานได้ศึกษา และทดลองอีกด้วย
Read More
อบรม Hands-on Workshop |Digital Forensics Foundation Course 4 Days | แก่บริษัท GrowPro Consulting & Services Co.,Ltd.
Orion Forensics LAB ได้รับเชิญบรรยายหลักสูตร On-Site | hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Training Course (4 DAYS) แก่ผูที่สนใจจาก บริษัท GrowPro Consulting & Services Co.,Ltd. เมื่อวันที่ 6-9 กันยายน 2565
โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเบื้องต้นเชิงลึกสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล หรือ อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์หลักฐานในอนาคต ,ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานดิจิทัล หรือเพิ่มทักษะ digital forensics ในการทำงาน
หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้งในการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (digital forensic)รวมถึงทางด้านเทคนิคต่างๆ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเชิงลึกและฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์จริง ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละขั้น โดยในการอบรมครั้งนี้ Orion Forensics lab ได้ปรับหลักสูตรเพื่อตรงการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ คือ รวบรวมข้อมูลจาก Cloud การตรวจสอบมัลแวร์ วิเคราะห์มัลแวร์ และ ใช้ Volatility Framework เพื่อวิเคราะห์ แรม
ผู้ฝึกอบรมจะได้ทดลองใช้เครื่องมือที่เป็น Forensics open source Tools ซึ่งเขียนและพัฒนาโดย ซึ่งจะได้เรียนรู้และทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดย
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้ตรวจเชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์และมีประสบการณ์หลายปีจากประเทศอังกฤษและในประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาของหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้
เนื้อหาและข้อมูลสำหรับหลักสูตรนี้ Digital Forensics Foundation Training Course 4 Days
องค์ใดสนใจจัดอบรม In-House ติดต่อสอบถาม Sales โดยตรง forensics@orionforensics.com
Read More
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2563
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3และ 7 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2563 กรณีศึกษาลูกจ้างออกจากบริษัทแล้ว ยังเข้าใช้อีเมลบริษัท เป็นการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
Read Moreพยานผู้เชี่ยวชาญคืออะไร?– บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในระหว่างการพิจารณาคดีของ Johnny Depp กับ Amber Heard ที่กำลังดำเนินอยู่และกำลังถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ผมคิดว่าตอนนี้น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะพูดคุยและกล่าวถึงในเรื่องที่ว่า พยานผู้เชี่ยวชาญคืออะไร บทบาทและความรับผิดชอบของพวกเขาคือมีอะไรบ้าง
Read Moreการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์(เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด)
หลักฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความเปราะบาง และหากถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีทางกฎหมายนั้นจะต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่ามีการรักษาความสมบูรณ์และความถูกต้องของหลักฐาน ซึ่งหากมีการจัดการที่ผิดพลาดของอาจทำให้มีความสงสัยในหลักฐานและกลายเป็นคำถามในชั้นศาล
Read Moreอบรม DIGITAL FORENSICS แก่ บริษัท โตเกียว มารีน ประกันชีวิต จำกัด
Orion Forensics ได้รับเชิญบรรยายหลักสูตร 2 วันแก่ บริษัท โตเกียว มารีน ประกันชีวิต จำกัด โดยวันแรก อบรมหลักสูตรบรราย Digital Evidence – Unlocking the Secrets ซึ่งเป็นหลักสูตรบรรยายตลอดการอบรม 1 วันเต็มๆ ในรูปแบบ On-line Class และวันที่ 2 อบรมหลักสูตร [Hands-on Workshop] Forensic Techniques for Auditor โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร Workshop ระยะสั้นสำหรับ it /Auditor /Fraud Analyst หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับตรวจสอบทุจริต หรือทำงานเกี่ยวข้องกับหลักฐานดิจิทัล โดยผู้เข้าอบรมได้เห็นและสัมผัสเครื่องมือจริงที่ใช้ในการทำ Digital Forensics ซึ่งจัดในรูปแบบ In-House Class เมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม 2565 ซึ่งสถานที่คือ โรงแรม S31 Sukhumvit .
ทาง Orion Forensics ขอขอบคุณบริษัท บริษัท โตเกียว มารีน ประกันชีวิต จำกัด ที่ให้โอกาส บรรยายให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อเพิ่มทักษะ Digital Forensics และการนำเทคนิคDigital forensics มาปรับใช้ร่วมกับการทำงานในปัจจุบัน
ภาพบรรยากาศอบรม
วันที่ 1 (อบรมออนไลน์ จำนวน 26 ท่าน )
วันที่่ 2 (อบรมIn-House จำนวน 15 ท่าน)
หลักสูตรทั้งหมด คลิก
สนใจจัดอบรม อีเมลย์ forensics@orionforensics.com
Read Moreตัวอย่างการทุจริตในองค์กรช่วงโควิด-19 และวิธีป้องกันเบื้องต้น
การทุจริตหรือฉ้อโกง คือการกระทำที่มีเจตนาเอาทรัพย์สินหรือเงินจากผู้อื่นด้วยอุบาย หลอกลวง หรือวิธีการที่ไม่เป็นธรรมอื่น ๆ
การทุจริตในองค์กร คือการทุจริตต่อบริษัท ซึ่งอาจกระทำโดยบุคลากรภายในองค์กรหรือบุคคลอื่นภายนอกองค์กร การทุจริตที่เกิดขึ้นภายในองค์กร หมายถึง เหตุการณ์ที่พนักงาน ผู้จัดการ หรือเจ้าของบริษัทกระทำการทุจริตต่อบริษัทของตนเอง เช่น ขโมยหรือใช้ทรัพย์สินของบริษัทในทางที่ผิด การทุจริตจากภายนอกองค์กร คือ การทุจริตที่กระทำโดยบุคคลภายนอก โดยรวมถึง การให้สินบน การโกง การเจาะหรือแฮกเข้าระบบของบริษัท การขโมยและการประกัน การกู้ยืม และการฉ้อโกงการชำระเงิน ทั้งนี้ คาดว่าองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก สูญเสียรายได้รวมร้อยละ 5 จากการทุจริต
ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และอาชญากรรม อาจทำให้เราเชื่อว่าทุจริตเกิดขึ้นจากพนักงานที่มีเจตนาไม่ดีและไม่มีศีลธรรม อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการวิเคราะห์คดีทุจริตในองค์กรกว่า 1,000 คดี ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการทุจริตพบว่า มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการทุจริต ปัจจัยเหล่านี้อยู่ในทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริต
ทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริตประกอบด้วย โอกาส แรงกดดัน และการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ยกตัวอย่างการทุจริตง่าย ๆ เช่น ลิ้นชักเก็บเงินในบริษัทของแจ็คที่ไม่เคยมีการป้องกัน ไม่มีการเฝ้าดูแล รวมถึงไม่มีการสรุปรวมยอด แจ็คจึงมีโอกาส เมื่อเขาไม่ค่อยมีเงินสด และวันนี้เป็นวันเกิดแฟนของเขา และเขายังไม่ได้ซื้อของขวัญให้แฟน เขาจึงมีแรงกดดัน เงินเพียงไม่กี่ร้อยดอลลาร์คงไม่กระทบบริษัทมากนัก และคงไม่มีใครจับได้ เขาได้ค่าจ้างต่ำเกินไป ทั้งยังทำงานหนักมาก แถมเจ้านายของเขาก็ยังเป็นคนงี่เง่า แจ็คจึงมีเหตุผลให้กับตัวเอง ปัจจัยทั้งสามตามทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริต ทำให้แจ็คมีแรงกระตุ้นจะกลายเป็นผู้ทุจริตองค์กร แม้โดยทั่วไปเขาจะเป็นพนักงานที่ทำงานด้วยศีลธรรมและเจตนาดีก็ตาม
ทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริตจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ได้อย่างไร
โอกาส – ในขณะที่ทำงานจากที่บ้าน หลายบริษัทต้องปรับใช้วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ โดยมีการควบคุมน้อยลง
แรงกดดัน – พวกเราทุกคนทราบดีว่าเราต้องเผชิญกับแรงกดดันหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันจากความไม่แน่นอน เงินเดือนที่น้อยลง ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว และระดับความวิกตกกังวลที่เกิดขึ้น
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง – ในขณะทำงานจากที่บ้าน พนักงานอาจรู้สึกว่ามีปฏิสัมพันธ์กับนายจ้างและเพื่อนร่วมงานน้อยลง หรือรู้สึกไม่พอใจนายจ้างกับมาตรการที่ใช้ในช่วงโรคระบาด อย่างเช่น การลดเงินเดือน หรือการปลดออกจากงาน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้พนักงานหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเพื่อกระทำการทุจริตได้ง่ายขึ้น
สมาคมต่อต้านการทุจริตสากล (ACFE) เป็นองค์กรต่อต้านการทุจริตที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมและการให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต (ทั้งยังเป็นผู้จัดทำสถิติส่วนใหญ่ที่นำเสนอในบทความนี้) ทั้งนี้ ACFE พบว่ามีการทุจริตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากผลกระทบในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยักยอกเงินโดยพนักงาน การทุจริตทางออนไลน์ การฉ้อโกงการชำระเงิน และการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลอันเกิดจากการกำกับดูแลที่น้อยลง สมาชิกของ ACFE ยังได้รายงานอีกว่า มีความยากลำบากในการตรวจสอบการทุจริตเนื่องจากการเดินทางที่จำกัดและไม่สามารถเข้าถึงหลักฐานได้อย่างเพียงพอ
แม้ว่าโควิด-19 จะก่อให้เกิดโอกาสในการทุจริตและการทุจริตรูปแบบใหม่ ๆ แต่พื้นฐานของการทุจริตและการที่บริษัทต่าง ๆ สามารถใช้ในการป้องกันการทุจริตก็ยังคงเหมือนเดิม หัวข้อที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้คือวิธีการที่บริษัทสามารถใช้ได้เพื่อลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อของการทุจริต
- สายด่วน – ร้อยละ 43 ของการทุจริตถูกตรวจพบผ่านสายด่วน องค์กรที่มีสายด่วนสามารถตรวจพบการทุจริตได้เร็วกว่าและสามารถจำกัดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการมีวิธีการรายงานที่ชัดเจนเพื่อให้พนักงาน ผู้จัดหา และบุคคลอื่น ๆ สามารถรายงานข้อสงสัยต่าง ๆ ในการทุจริต ผู้ทำการทุจริตส่วนมากมักจะใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ใช้เงินเกินกำลัง และเพื่อนร่วมงานอาจสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้และรายงานความน่าสงสัยได้ ทั้งนี้ ปัจจัยในการก่อการทุจริตอื่น ๆ ยังรวมถึงปัญหาทางการเงิน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างผิดปกติกับผู้ขายหรือลูกค้า และการติดยาเสพติด
- การฝึกอบรบและให้ความรู้เรื่องการทุจริต – พนักงานมักจะรายงานข้อมูลมากขึ้นหลังจากได้รับการฝึกอบรม นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มน้อยลงที่พนักงานจะทำการทุจริตหากได้ตระหนักถึงหลักจรรยาบรรณและนโยบายการต่อต้านการทุจริตและการควบคุมภายใน หัวข้อการฝึกอบรมจะรวมถึงการทุจริต การทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ และกระบวนการรายงานการทุจริต
- ผู้นำองค์กรเป็นแบบอย่าง – ปัจจัยหลายประการในการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเพื่อกระทำการทุจริตเกิดจากการจัดการที่ไม่ดี ผู้บริหารและเจ้าของต้องเป็นตัวอย่างที่ดี โดยประพฤติตนตามหลักจรรยาบรรณและปฏิบัติต่อพนักงานและผู้ขายอย่างเป็นธรรม
- แผนการรับมือต่อเหตุการณ์ทุจริต – บริษัทควรมีแผนการรับมือกับการทุจริตหรือข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการทุจริต ซึ่งอาจรวมถึงบริษัทสืบสวนทุจริตภายนอกบริษัทที่สามารถให้การสนับสนุนในการสอบสวนและการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎหมายได้ เมื่อตรวจพบการทุจริต เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวบรวมหลักฐานให้ถูกต้องตามหลักนิติวิยาศาสตร์ เพื่อให้หลักฐานสามารถนำไปใช้ในการดำเนินคดีตามกฎหมายได้ หลักฐานควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนจะพิจารณาว่าสามารถใช้ดำเนินคดีกับผู้กระทำการทุจริตได้หรือไม่ บริษัทต่าง ๆ มักจะรีบเผชิญหน้ากับผู้กระทำการทุจริตก่อนที่จะรวบรวมหลักฐานทั้งหมดอย่างเพียงพอ เพื่อแสดงจุดยืนของบริษัท เพราะฉะนั้นต้องระวังข้อนี้ให้ดี
- การควบคุมภายใน – บริษัทส่วนใหญ่จะไม่มีลิ้นชักเก็บเงินที่มีการดูแลซึ่งช่วยให้แจ็คทำการทุกจริตได้อย่างง่ายดาย แต่หลาย ๆ บริษัทจะมีช่องโหว่ทำนองเดียวกันซึ่งพนักงานสามารถรับรู้ได้เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ การควบคุมภายในที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการแบ่งแยกหน้าที่ อุปกรณ์ป้องกันและการเข้าตรวจสอบโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะช่วยลดปัจจัยที่สร้างโอกาสให้เกิดการทุจริตตามทฤษฎีสามเหลี่ยมได้ ทั้งนี้ มีผู้ตรวจสอบภายนอกจำนวนมากที่ให้บริการตรวจสอบการควบคุมภายใน
- การประเมินความเสี่ยงของการทุจริต – การประเมินความเสี่ยงเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการระบุและบรรเทาจุดอ่อนของบริษัทที่เสี่ยงต่อการทุจริตทั้งภายในและภายนอก โดยการประเมินสามารถทำได้ภายในองค์กรหรือรับการสนับสนุนจากที่ปรึกษาภายนอกองค์กร
- การสอบบัญชีโดยผู้ตรวจสอบภายนอก – การตรวจสอบบัญชีหรืองบการเงินของบริษัทโดยผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกเป็นวิธีการสำคัญวิธีการหนึ่งในการตรวจหาการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรใหญ่ ทั้งนี้ ควรให้ผู้ตรวจสอบบัญชีระบุความเสี่ยงของการทุจริตด้วยในระหว่างการสอบบัญชีแต่ละครั้ง
- การคัดกรองก่อนจ้างงาน – การคัดกรองนี้รวมถึงการตรวจสอบหน้าที่การงานที่ผ่านมาของพนักงาน ประวัติอาชญากรรมและประวัติส่วนตัว ตรวจสอบการศึกษา และ ตรวจสอบบุคคลอ้างอิง องค์กรควรทำให้แน่ใจว่ากระบวนการจ้างงานทั้งหมดของตนเป็นไปตามกฎหมายปกป้องข้อมูล และไม่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้สมัครงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้บริการจากบริษัทคัดกรองที่เป็นมืออาชีพ
ดังคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” การปรับใช้วิธีการต่อต้านการทุจริตเหล่านี้จะลดความเสี่ยงที่องค์กรของคุณอาจตกเป็นเหยื่อของการทุจริต นอกจากนี้ยังช่วยให้แน่ใจว่า หากคุณเป็นเหยื่อของการทุจริต การแก้ไขปัญหาจะดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม และก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
ประวัติผู้เขียนบทความ
ปีเตอร์ ฮอร์มชอว์ มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ในการสืบสวนด้านธุรกิจและเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท โอไร้อัน อินเว็สทิเกชั่น จำกัด – ซึ่งเป็นบริษัทสืบสวนด้านธุรกิจและสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียนในกรุงเทพฯ โดยมีพนักงานสอบสวน ทนายความ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติคอมพิวเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ มากกว่า 100 คน ปีเตอร์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาปรัชญาและการเมือง และปริญญาโทบริหารธุรกิจ และเป็นผู้ตรวจสอบการทุจริตที่ได้รับการรับรอง
Read More