การสืบสวนสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency และเครื่องมือ
“หากคุณตกเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงที่เกี่ยวกับ Cryptocurrency และต้องการความช่วยเหลือในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีในทางกฏหมาย Orion Investigations ช่วยคุณได้ “
Crypto Blockchain คือการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ซึ่งมีรายละเอียดบันทึกของการดำเนินของธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลอยู่
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และติดตามการทำธุรกรรมในระบบ Blockchain คุณ แอนดรูว์ สมิธ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ Computer Forensics จาก บริษัท Orion Investigations ได้พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์และสืบค้นที่ชื่อว่า Blockchain Detective
ถ้าหากคุณ ! ตกเป็นเหยื่อจากการฉ้อโกงของ Cryptocurrency สามารถติดต่อมาที่ Orion Forensics ทางเราสามารถให้คำแนะนำกับคุณได้
Read full article ==> Cryptocurrency Investigations
Email : forensics@orionforensics.com
Line ID : orionforensics
Mobile Phone : +66(0)89-960-5080
อบรม Hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Course 4 Days โดย บริษัท Tech Direct
Orion Forensics ได้รับเชิญให้บรรยาย และฝีกอบรมหลักสูตร Hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Training Course – 4 DAYS โดยบริษัท Tech Direct ให้แก่ผู้ที่สนใจจาก สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และหน่วยงานสืบสวนทางด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 20-23 ธันวาคม 2565
ทางเราได้จัดอบรมในหลักสูตรการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (digital forensic) รวมถึงทางด้านเทคนิคต่างๆ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเชิงลึกและฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์จริง ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอน โดยในการอบรมครั้งนี้ Orion Forensics ได้ปรับหลักสูตรเพื่อตรงการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่เข้าฝึกอบรมอีกด้วย หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้ตรวจพิสูจน์ ที่เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์และดิจิทัลที่มีประสบการณ์หลายปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เนื้อหาและข้อมูลสำหรับหลักสูตรนี้ Digital Forensics Foundation Training Course 4 Days
องค์กรใดสนใจจัดอบรม In-House ติดต่อสอบถาม Forensics Team โดยตรง forensics@orionforensics.com
Read More
อบรม Hands-on Workshop |Digital Forensics Foundation Course 4 Days | แก่บริษัท GrowPro Consulting & Services Co.,Ltd.
Orion Forensics LAB ได้รับเชิญบรรยายหลักสูตร On-Site | hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Training Course (4 DAYS) แก่ผูที่สนใจจาก บริษัท GrowPro Consulting & Services Co.,Ltd. เมื่อวันที่ 6-9 กันยายน 2565
โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเบื้องต้นเชิงลึกสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล หรือ อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์หลักฐานในอนาคต ,ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานดิจิทัล หรือเพิ่มทักษะ digital forensics ในการทำงาน
หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้งในการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (digital forensic)รวมถึงทางด้านเทคนิคต่างๆ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเชิงลึกและฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์จริง ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละขั้น โดยในการอบรมครั้งนี้ Orion Forensics lab ได้ปรับหลักสูตรเพื่อตรงการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ คือ รวบรวมข้อมูลจาก Cloud การตรวจสอบมัลแวร์ วิเคราะห์มัลแวร์ และ ใช้ Volatility Framework เพื่อวิเคราะห์ แรม
ผู้ฝึกอบรมจะได้ทดลองใช้เครื่องมือที่เป็น Forensics open source Tools ซึ่งเขียนและพัฒนาโดย ซึ่งจะได้เรียนรู้และทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดย
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้ตรวจเชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์และมีประสบการณ์หลายปีจากประเทศอังกฤษและในประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาของหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้
เนื้อหาและข้อมูลสำหรับหลักสูตรนี้ Digital Forensics Foundation Training Course 4 Days
องค์ใดสนใจจัดอบรม In-House ติดต่อสอบถาม Sales โดยตรง forensics@orionforensics.com
Read More
Digital Forensics คืออะไร
Computer Forensics / Digital Forensics คือ การเก็บหลักฐาน, การค้นหา, วิเคราะห์ และการนำเสนอหลักฐานทางดิจิทัลที่อยู่ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์,อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โทรศัพท์มือถือ รวมถึงหลักฐานดิจิทัลที่ถูกสร้างจากระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ระบุผู้กระทำผิดจนถึงเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ใช้กระบวนการซึ่งได้จัดสร้างไว้แล้ว และเป็นที่ยอมรับ ในการที่จะระบุ, บ่งชี้, เก็บรักษา และดึงข้อมูลแบบดิจิทัลกลับออกมา ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการสืบสวนคดีในยุคปัจจุบัน
Computer Forensics เป็นศาสตร์ทางด้านการสืบสวนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยผู้ทำการสืบสวน นั้น จะนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับคดีหรือเรื่องที่กำลังสืบสวนมาค้นหาข้อมูล เพื่อสืบค้นหาพยานหลักฐานสำหรับใช้ในการประกอบการสืบสวนหรือใช้ค้นหาผู้กระทำความผิดออกมา ทั้งนี้ตามวิธีการของการทำ Computer Forensics ซึ่งหลักสำคัญคือหลักฐานทางดิจิทัล นั้น จะต้องใช้วิธีการที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้นแก่พยานหลักฐานดิจิทัล ต้นฉบับเดิม ดังนั้นผู้ที่ทำงานด้าน Computer Forensicsจะต้องรู้กระบวนการที่ถูกต้องและใช้เครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อความสมบูรณ์และถูกต้องของพยานหลักฐาน
สิ่งที่ได้จาก Computer Forensics :
- บ่งชี้ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำผิด
- บ่งชี้ผู้สมคบคิดกับผู้กระทำผิด
- บ่งชี้ websites ที่ผู้กระทำผิดเข้าไปใช้
- อีเมล์ที่มีการส่งและรับ
- ไฟล์ที่ได้ถูกลบทิ้งและไฟล์ที่ซ่อนอยู่
- ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลด้านการเงิน, ที่อยู่ ฯลฯ
- ความสามารถและความสนใจของของบุคคลนั้นๆ
- พยานหลักฐาน การประกอบอาชญากรรมอื่นๆ
ในการค้นหาหลักฐานทุกครั้งนั้นผู้เชี่ยวชาญด้าน Computer Forensics จะทำการตรวจสอบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทางดิจิทัลสำหรับหลักฐานที่ใช้แนวทางของการทำ Computer Forensics ในการค้นหาหลักฐาน มีความจำเป็นที่ขั้นตอนนี้ต้องมีความชัดเจนในการในการอธิบายหลักฐานในแนวทางของ Computer Forensics
แนวทางการทำ Computer Forensics เป็นวิธีการที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่มาของหลักฐาน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเพื่อให้ใด้หลักฐานที่ต้องการ วิธีการได้มาของหลักฐานจะถูกบันทึกเป็นเอกสารและสามารถพิสูจน์ได้
การทำ Computer Forensics สามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1.การเก็บรักษา – เมื่อจะต้องจัดการเก็บข้อมูลดิจิทัล ผู้ตรวจสอบจะต้องทำการทุกอย่างเพื่อรักษาข้อมูลไว้ นี่สามารถทำได้โดยการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบจะต้องไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยปกติแล้วจะรวมถึงการสร้างสำเนาข้อมูล หรือ Cloning ข้อมูลต้นฉบับไว้ ข้อมูลดิจิทัลสามารถเก็บไว้บนฮาร์ดไดร์ฟ, CD/DVD, floppy disks, USB drives, มือถือ, เครื่องเล่นดนตรี และเทปสำรอง.
2.การวินิจฉัย – ความจุของฮาร์ดไดร์ฟจะเพิ่มขึ้นปีต่อปี ผลก็คือการตรวจสอบอาจประกอบด้วยข้อมูลดิจิทัลเป็นร้อยๆกิ๊กกะไบท์ เพื่อที่จะระบุหลักฐานที่เป็นไปได้ผู้สืบสวนจะใช้เทคนิคเช่นการค้นหา keywords หรือ กรองข้อมูลเจาะจงของไฟล์เช่นเอกสาร รูปภาพ หรือไฟล์ประวัติอินเตอร์เน็ต
3.การแยกข้อมูล – เมื่อหลักฐานได้รับการวินิจฉัย มันจะต้องถูกแยกข้อมูลออกมาจากสำเนาข้อมูล ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูล อาจปริ้นท์ออกมาเป็นเอกสารได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเช่นประวัติอินเตอร์เน็ตอาจจะมีหลายร้อยหน้าและจะต้องทำออกมาในรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์
4.การอธิบาย – การระบุและแยกหลักฐานคือส่วนหนึ่งของหน้าที่ของผู้ตรวจสอบ มันมีความสำคัญมากที่จะต้องอธิบายเกี่ยวกับหลักฐานให้ถูกต้อง ผู้ตรวจสอบไม่ควรจะพึ่งพาเครื่องมืออัตโนมัติ ผู้ตรวจสอบควรจะมีความสามารถในการตรวจสอบและเข้าใจผลลัพธ์ที่ได้มาจาก forensic software
5.บันทึกของของหลักฐานคอมพิวเตอร์ – เมื่อการตรวจสอบเริ่มขึ้น ผู้ตรวจสอบจะต้องรักษาบันทึกที่เกี่ยวกับการทำงานกับข้อมูลดิจิทัลให้มีความอัพเดทอยู่สม่ำเสมอและขั้นตอนของการทำการตรวจสอบ บันทึกควรจะมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้บุคคลที่สามสามารถทำตามแล้วได้ผลลัพธ์ที่ออกมาเหมือนกัน การสร้างหลักฐานสำคัญจะไม่มีความหมายเลยถ้าผู้ตรวจสอบไม่สามารถสร้างรายงานที่ชัดเจนได้เข้าใจได้ สำคัญมากที่จะต้องไม่ใช้ศัพท์ทางเทคนิคมากเกินไปและเมื่อมีการใช้ศัพท์เมื่อจำเป็น ศัพท์เหล่านั้นจะต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน ผู้ตรวจสอบอาจต้องทำการแสดงหลักฐานที่พบในชั้นศาลในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
สมาคมเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของสหราชอาณาจักร (ACPO) ได้จัดทำคู่มือแนะนำการปฏิบัติงานเก็บหลักฐานสำหรับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ (Computer-Based Electronic Evidence) โดยคู่มือนี้ได้กำหนดหลักการสำคัญในการได้มาซึ่งหลักฐานทาง Computer Forensics 4 ประการคือ
หลักการที่1:หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือตัวแทนองค์กร ไม่ควรดำเนินการใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจนำไปใช้ในศาลได้ในภายหลัง
หลักการที่2:ในกรณีที่บุคคลใดมีความจำเป็นที่จะมีการเข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลซึ่งเป็นหลักฐาน บุคคลนั้นจะต้องอธิบายถึงความเกี่ยวข้องกับข้อมูลและผลกระทบจากการกระทำนั้น
หลักการที่3:หลักฐานการตรวจสอบหรือบันทึกอื่น ๆ ของกระบวนการตรวจสอบทั้งหมดที่ใช้กับหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์รควรได้รับการจัดทำและรักษาไว้ (Chain of Custody)โดยผู้ตรวจสอบหากมีบุคคลที่สาม หรือองค์กรอิสระ ที่เข้ามาตรวจสอบ ก็จะได้ผลลัพเช่นเดียวกัน
หลักการที่4:บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบ(เจ้าหน้าดูแลคดีนั้นโดยตรง) จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำเพื่อให้มั่นใจว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการ Computer Forensics
หลักการของ Computer Forensics 4 ข้อ ที่นำเสนอ สามารถนำไปใช้ในคดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คดีอาญา, คดีแพ่ง หรือการสืบสวนภายในองค์กร การนำหลักการนี้มาใช้จะช่วยให้ไม่เกิดคำถามในเรื่องความสมบูรณ์ของหลักฐานดิจิทัล
เกี่ยวกับผู้เขียน:
Mr. Andrew Smith (Andy) – Director of Computer Forensics Services at Orion Forensics Thailand
แอนดรูว์มีประสบการณ์มากกว่า 17 ปี ในสาขานิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 9 ปี โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาใช้เวลาทำงานในแผนกอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตำรวจซึ่งเขาได้รับการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย มีบทบาทของในการรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการนำเสนอหลักฐานในศาลของสหราชอาณาจักรในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
ขณะนี้แอนดรูว์ทำงานที่กรุงเทพฯมาเป็นเวลากว่า 7 ปีและเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Computer Forensics Services ของ บริษัท Orion Investigations บทบาทของเขาคือดูแลการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมความตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และอธิบายหลักฐานในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลไทย และเป็นวิทยากรที่อบรมให้กับหน่วยงานธุรกิจและองค์กรต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับตลาดในประเทศไทย อีกทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ในห้องปฏิบัติการนิติเวชทั่วโลก
Email :andrew@orioninv.co.th
บริการ รวบรวม วิเคราะห์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และ ขึ้นเป็นพยานในชั้นศาล
Read Moreทำไมการทำ Computer Forensics จึงมีความสำคัญต่อองค์กรของคุณ
ในโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วปัจจุบันองค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน ปัจจุบันลูกค้าทั่วไปต่างคาดหวังว่า สินค้าหรือองค์กรต่างๆที่เค้าต้องการหาสินค้าจะต้องมีเว็บไซท์ที่น่าสนใจและข้อมูลครบตามความต้องการซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีในกรณีที่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าก่อนสั่งสินค้า ลูกค้าต้องมีสิทธ์ในการสอบถามข้อมูลของสินค้า โดยผ่านโปรแกรมแชทที่เจ้าของเว็บไซต์เตรียมไว้ให้ และฟังก์ชั่นการทำงานของเวไซต์อื่นที่น่าสนใจเช่น ดูตัวอย่างสินค้า
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยส่วนใหญ่เน้นเชื่อมต่อระหว่างอีเมล์ของตัวเองและสามารถติดต่อกับเพื่อนๆได้ในช่วงเวลาทำงาน
Computer Forensics สำคัญต่อองค์กรของคุณอย่างไร?
การทำ Computer Forensics คือขั้นตอนการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์การตรวจสอบข้อมูลต่างๆทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ใบนี้ และเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน ที่จะจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปในองค์กรจะมีการรักษาความปลอดภัยด้วยการใช้ไฟร์วอล และอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัส อย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้มีนโยบายควบคุมการใช้อุปกรณ์ USB ซึ่งทำให้สามารถใช้อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายและระบบโทรศัพท์ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลขององค์กร และเมื่อมีการยกเลิกสัญญาพนักงานจึงต้องมีการปิดบัญชีผู้ใช้ให้ทันท่วงทีองค์กรทั่วไปจะมีกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลลูกค้า อย่างไรก็ตามการรั่วไหลของข้อมูลยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่องค์กรเหล่านี้ต้องเผชิญอยู่ในโลกของเทคโนโลยีทุกวันนี้
เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์แน่นอนว่าในที่สุด ทุกองค์กรจะต้องมีการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์
ตัวอย่างของเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ที่พบกันบ่อยๆซึ่งอาชญากรรมที่พบบ่อยได้แก่
• การทุจริตทางคอมพิวเตอร์
• อาชญากรรม
• การจารกรรมข้อมูลในภาคอุตสาหกรรมรม
• การโจรกรรมข้อมูลลับขององค์กร
• การละเมิดลิขสิทธ์ส่วนบุคคล / การสูญเสียข้อมูลของลูกค้า
• สื่อลามกอนาจารสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
• การกระทำต่างๆที่เป็นการละเมิดนโยบายการรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ขององค์กร และอื่น ๆ
เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นผู้กระทำผิดจะทิ้งช่องโหว่ เช่น ทางจริยธรรม ทางการเงินและถูกทางกฎหมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการตรวจสอบหลักฐานจากภายใน อย่างรวดเร็วเพื่อขยายผลไปสูการตรวจสอบคดีทางอาญาซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอกโดยข้อมูลการสอบสวนอาจรั่วไหลสู่ภายนอกโดยไม่รู้ตัว
จากการสำรวจคดีสำคัญทางอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก ในปี 2011
• ในขณะนี้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จัดเป็นหนึ่งในสี่ของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
• 40 % ของผู้ตอบแบบสอบถามหวาดกลัวในเรื่องของภาพลักษณ์ชื่อเสียงขององค์กรมากที่สุด
• 60% กล่าวว่า องค์กรไม่มีนโยบายติดตามความเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์
• 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (เพิ่มขึ้น 30 % จากปี 2009) เกือบ 1 ใน 10 ที่เปิดเผยถึงความเสียหายจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
• 56 % ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการทุจริตที่ร้ายแรงที่สุดคือ “ภายในองค์กรนั่นเอง”
• 2 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้รับการฝึกอบรมใดๆเลยเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์
• ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงการมีแผนรองรับหรือรับมือในกรณีถ้ามีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นภายในองค์กร
ทำไม การทำ Computer Forensics จึงมีความสำคัญต่อองค์กรคุณ
เมื่อองค์กรต้องเผชิญกับเหตุการณ์ในระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ทางไอทีจะถูกคาดหวังในประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นและพยายามหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและประเมินระดับของความรุนแรง ส่วนใหญ่พนักงานไอทีในบริษัททั่วไปไม่ได้รับการฝึกอบรมในด้านการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์(Computer Forensic) ส่งผลให้พวกเขาไม่ตระหนักถึงวิธีการเก็บข้อมูลหลักฐานทางดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่อาจจะต้องนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อศาลในกรณีที่มีการร้องขอ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเช่น วันและเวลาที่ปรากฏอาจสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งจะทำให้การตรวจสอบยากมากขึ้น ในสถานการณ์ที่เลยร้ายที่สุดข้อมูลที่ตรวจพบอาจไม่เป็นที่ยอมรับเมื่อนำไปเสนอในชั้นศาล
การพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer forensics investigation)จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะซึ่งเกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาข้อมูลและตรวจสอบ แยกแยะหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่พบ แต่การเผยแพร่ หลักฐานที่ถูกต้อง เมื่อต้องเผชิญหลักฐานทางคอมพิวเตอร์องค์กรมีแนวโน้มที่จะเน้น ไปที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน และจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
หลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ จะเป็นผลลัพธ์ของการสืบสวนการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์สามารถลดขั้นตอนการดำเนินการทางกฎหมายให้รวด เร็วกระชับขึ้นการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถประหยัดเวลาในการตรวจสอบซึ่งยังสามารถช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
เมื่อองค์กรกำหนดแผนรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น องค์กรควรจะสร้างแผนการซึ่งตอบสนองงานด้านพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Incident Response Plan ) ซึ่งอาจหมายถึง การให้พนักงานได้รับการอบรมการเก็บ ตรวจสอบ พิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามหลักสากลในองค์กร ซึ่งพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถช่วยเหลือองค์กรเบื้องต้นในกรณีเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์เริ่มเป็นที่สนใจในหลายๆประเทศทั่วโลก ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งโครงการ Insurance Scheme ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วย เหลือลูกค้าถ้ามีการเรียกร้องการตรวจสอบพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ โดยองค์กรต้องยอมรับการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์และเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้ที่กำลังคิดที่จะก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
Training For IT Staff – Computer Forensics Awareness and Incident Response Training (TH)
ประวัติผู้เขียน
แอนดรูส์ สมิทธ์ -ผู้อำนวยการพิสูจน์หลักฐานคอมพิวเตอร์ประจำ Orion Forensic
แอนดรูว์มีประสบการณ์มากกว่า 17 ปี ในสาขานิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 9 ปี โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาใช้เวลาทำงานในแผนกอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตำรวจซึ่งเขาได้รับการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย มีบทบาทของในการรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการนำเสนอหลักฐานในศาลของสหราชอาณาจักรในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ
ขณะนี้แอนดรูว์ทำงานที่กรุงเทพฯมาเป็นเวลากว่า 7 ปีและเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Computer Forensics Services ของ บริษัท Orion Investigations บทบาทของเขาคือดูแลการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมความตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และอธิบายหลักฐานในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลไทย และเป็นวิทยากรที่อบรมให้กับหน่วยงานธุรกิจและองค์กรต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับตลาดในประเทศไทย อีกทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ในห้องปฏิบัติการนิติเวชทั่วโลก
Email :andrew@orioninv.co.th
Read More
จัดอบรม In-House Hands-on Workshop |Digital Forensics Foundation Course 4 Days | แก่เจ้าหน้าที่จากศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก
Orion Forensics LAB ได้รับเชิญบรรยายหลักสูตร In-House hands-on Workshop Digital Forensics Foundation Training Course (4 DAYS) แก่เจ้าหน้าที่จาก ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก เมื่อวันที่ 19-22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา
โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเบื้องต้นสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล หรือ อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์หลักฐานในอนาคต ,ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานดิจิทัล
หลักสูตรนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้งในการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (digital forensic)รวมถึงทางด้านเทคนิคต่างๆ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเชิงลึกและฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์จริง ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละขั้น โดยในการอบรมครั้งนี้ Orion Forensics lab ได้ปรับหลักสูตรเพื่อตรงการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ คือ รวบรวมข้อมูลจาก Cloud การตรวจสอบมัลแวร์ วิเคราะห์มัลแวร์ และ ใช้ Volatility Framework เพื่อวิเคราะห์ แรม
ผู้ฝึกอบรมจะได้ทดลองใช้เครื่องมือที่เป็น Forensics open source Tools ซึ่งเขียนและพัฒนาโดย ซึ่งจะได้เรียนรู้และทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดย
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้ตรวจเชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์และมีประสบการณ์หลายปีจากประเทศอังกฤษและในประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาของหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้
เนื้อหาและข้อมูลสำหรับหลักสูตรนี้ Digital Forensics Foundation Training Course 4 Days
องค์ใดสนใจจัดอบรม In-House ติดต่อสอบถาม Sales โดยตรง forensics@orionforensics.com
Read More
หลักการนำหลักฐานดิจิทัลหรืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในทางกฎหมาย
เนื่องจากกฎหมายของแต่ละประเทศในเรื่องของการนำเสนอหลักฐานนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการนำหลักฐานดิจิทัลไปใช้ในชั้นศาลซึ่งเป็นกฎที่มีการคิดค้น และพัฒนาในต่างประเทศจนได้รับการยอมรับมากที่สุด ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อคือ ดังนี้คือ
Read Moreการสำเนาพยานหลักฐานต้นฉบับ (Forensics Image) คืออะไร
การสำเนาพยานหลักฐานต้นฉบับ หรือ Forensics Imaging เป็นกระบวนการของการสำเนาของฮาร์ดไดรฟ์ และเป็นพื้นฐานทางนิติคอมพิวเตอร์, การกู้คืนข้อมูล และกระบวนการค้นหาข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกสิ์ ซึ่งกระบวนการ Imaging นั้นจะทำกับข้อมูล ทุกๆข้อมูล ที่บันทึกอยู่ในฮาร์ดไดรฟ์ ซึ่งข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ จะบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1
Read MoreChain of custody หรือ “ห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐาน” คืออะไร?
Chain of custody หรือ “ห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐาน” คือ เอกสารแสดงลำดับการเกิดเหตุการณ์ หรือเอกสารแสดงทุกขั้นตอน ตั้งแต่การยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ การดูแลรักษา การควบคุม การวิเคราะห์ และการจัดเก็บหลักฐานทางอิเล็กทรนิกส์ เนื่องจากหลักฐานที่พบสามารถนำไปใช้ในยืนยันได้ในชั้นศาล
Read MoreOrion Forensics LAB ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสถาบัน Korat Institute of Technology and Enterprise (KITE)
แอนดรู สมิทธ์ -ผู้อำนวยการ Orion Forensics LAB ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ Mr.Muhamad Arshad จากสถาบัน Korat Institute of Technology and Enterprise (KITE) ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563
จุดประสงค์ของการลงนามครั้งนี้มีขึ้น เพื่อความร่วมมือในโครงการฝึกอบรมสืบสวนอาชญากรรมไซเบอร์ระดับเริ่มต้น สำหรับบุคคลทั่วไปหรือผู้ที่สนใจ ในประเทศปากีสถานและประเทศอื่น ๆ